ขนมปาดข้าวดอย
ชัยยา ผัดจันตา
ทีม Boonyuen School
รุ่นประชาชนทั่วไป (อายุไม่เกิน60ปี)
“ขนมปาด หรือ ข้าวหนมปาด” ขนมแห่งชีวิตและวัฒนธรรม เป็นขนมพื้นบ้านของชาวล้านนา นิยมทำในประเพณีงานบวช งานบุญ มีประวัติยาวนานมากกว่า 60 ปี พิธีกวนขนมปาดหรือการคนขนมปาดนั้นเป็นประเพณีในท้องถิ่นที่สำคัญของชาวล้านนา เป็นกุศโลบายเพื่อการรวมลูกหลานหรือคนในท้องถิ่น เพราะการทำขนมปาดนั้น ต้องอาศัยกำลังคนและอาศัยระยะเวลาในการทำ ส่วนผสมของขนมปาดนั้น ประกอบด้วยข้าวเจ้า น้ำอ้อย มะพร้าวทึนทึก ส่วนวิธีทำนั้นมีขั้นตอนไม่มากนัก พิธีกวนขนมปาดหรือการคนขนมปาดในงานบุญนั้น ยังได้รับการสืบทอดต่อกันมาในแต่ละยุคสมัย อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่น วิธีการทำ อุปกรณ์ในการทำในแต่ละท้องถิ่น เป็นพิธีหรือประเพณีที่ควรจะอนุรักษ์ สืบสานเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้วิถีชีวิตที่ปู่ย่าตายายได้สั่งสมเอาไว้ นับได้ว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นวัฒนธรรมอันดีงามที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เป็นการสร้างความสามัคคีและความรักใคร่ของคนในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
สูตรทำขนมปาด
1. น้ำเปล่า 5 ลิตร
2. ข้าวจ้าวดอย 1 กิโลกรัม
3. น้ำตาลอ้อย 1 กิโลกรัม
4. มะพร้าวทึนทึกขูด 1.5 กิโลกรัม
แรงบันดาลใจ
ในการทำคลิปวิดีโอของดีบ้านฉัน หัวข้ออาหารเกี่ยวกับการทำขนมปาดนั้น พวกเรามีแรงบันดาลใจจากการเรียนรู้วิถีชีวิตที่ปู่ ย่า ตา ยาย ได้สั่งสมเอาไว้ เป็นพิธีหรือประเพณี วัฒนธรรม อันดีงามที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ สืบสาน เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้วิถีชีวิต อีกทั้งเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ เนื่องจากชุมชนของพวกเราตั้งอยู่ในท่ามกลางธรรมชาติ โอบล้อมด้วยป่าเขาลําเนาไพร ประกอบด้วยวัตถุดิบที่นำมาทำขนมนั้นหาได้ง่ายตามท้องถิ่น อีกประการหนึ่งพวกเราอยากให้ขนมปาดเป็นที่รู้จัก และเป็นที่นิยมของผู้คนทั่วไป จึงได้พัฒนารูปแบบขนมปาดโดยการตกแต่งหน้าขนม และบรรจุหีบห่อด้วยภาชนะใบตองให้มีความน่าสนใจจากเดิม เป็นการช่วยลดการใช้พลาสติกอีกทางหนึ่ง
ทีม Boonyuen School
รุ่นประชาชนทั่วไป (อายุไม่เกิน60ปี)
“ขนมปาด หรือ ข้าวหนมปาด” ขนมแห่งชีวิตและวัฒนธรรม เป็นขนมพื้นบ้านของชาวล้านนา นิยมทำในประเพณีงานบวช งานบุญ มีประวัติยาวนานมากกว่า 60 ปี พิธีกวนขนมปาดหรือการคนขนมปาดนั้นเป็นประเพณีในท้องถิ่นที่สำคัญของชาวล้านนา เป็นกุศโลบายเพื่อการรวมลูกหลานหรือคนในท้องถิ่น เพราะการทำขนมปาดนั้น ต้องอาศัยกำลังคนและอาศัยระยะเวลาในการทำ ส่วนผสมของขนมปาดนั้น ประกอบด้วยข้าวเจ้า น้ำอ้อย มะพร้าวทึนทึก ส่วนวิธีทำนั้นมีขั้นตอนไม่มากนัก พิธีกวนขนมปาดหรือการคนขนมปาดในงานบุญนั้น ยังได้รับการสืบทอดต่อกันมาในแต่ละยุคสมัย อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่น วิธีการทำ อุปกรณ์ในการทำในแต่ละท้องถิ่น เป็นพิธีหรือประเพณีที่ควรจะอนุรักษ์ สืบสานเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้วิถีชีวิตที่ปู่ย่าตายายได้สั่งสมเอาไว้ นับได้ว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นวัฒนธรรมอันดีงามที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เป็นการสร้างความสามัคคีและความรักใคร่ของคนในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
สูตรทำขนมปาด
1. น้ำเปล่า 5 ลิตร
2. ข้าวจ้าวดอย 1 กิโลกรัม
3. น้ำตาลอ้อย 1 กิโลกรัม
4. มะพร้าวทึนทึกขูด 1.5 กิโลกรัม
แรงบันดาลใจ
ในการทำคลิปวิดีโอของดีบ้านฉัน หัวข้ออาหารเกี่ยวกับการทำขนมปาดนั้น พวกเรามีแรงบันดาลใจจากการเรียนรู้วิถีชีวิตที่ปู่ ย่า ตา ยาย ได้สั่งสมเอาไว้ เป็นพิธีหรือประเพณี วัฒนธรรม อันดีงามที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ สืบสาน เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้วิถีชีวิต อีกทั้งเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ เนื่องจากชุมชนของพวกเราตั้งอยู่ในท่ามกลางธรรมชาติ โอบล้อมด้วยป่าเขาลําเนาไพร ประกอบด้วยวัตถุดิบที่นำมาทำขนมนั้นหาได้ง่ายตามท้องถิ่น อีกประการหนึ่งพวกเราอยากให้ขนมปาดเป็นที่รู้จัก และเป็นที่นิยมของผู้คนทั่วไป จึงได้พัฒนารูปแบบขนมปาดโดยการตกแต่งหน้าขนม และบรรจุหีบห่อด้วยภาชนะใบตองให้มีความน่าสนใจจากเดิม เป็นการช่วยลดการใช้พลาสติกอีกทางหนึ่ง