แกงเหมงพร้าวไก่บ้าน
1. ประวิทย์ รัตนพงศ์ 2. มานพ ทองมา 3. อภิญญา เพ็ชรขวัญ
ทีมบ้านม้าร้อง หมู่ที่ 4 ตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
รุ่นประชาชนทั่วไป (อายุไม่เกิน60ปี)
ความเป็นมา
“มะพร้าว” ถือได้ว่าเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และถือได้ว่าเป็นแหล่งผลิตมะพร้าวที่สำคัญของประเทศด้วย เนื่องจาก มีประชาชนในพื้นที่ทำสวนมะพร้าวกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน และอำเภอบางสะพานน้อย สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวได้เป็นอย่างดี ซึ่งบ้านม้าร้อง หมู่ที่ 4 ตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก็เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่คนในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพหลักในการทำสวนมะพร้าว และเป็นการทำมาจากรุ่นสู่รุ่น จนถือได้ว่า “มะพร้าว คือ ชีวิต” เพราะมะพร้าวเป็นพืชมหัศจรรย์ที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตของคนในชุมชนบ้านม้าร้อง ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไม้จากลำต้นมาสร้างที่อยู่อาศัย, ยอดมะพร้าวและลูกมะพร้าวนำมาใช้เป็นอาหาร, น้ำมะพร้าวและเนื้อมะพร้าวนำมาทำเป็นยารักษาโรค(เนื้อมะพร้าว รับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ แก้ไข้ กระหายน้ำ / น้ำมะพร้าว รสหวานเค็ม รับประทานเป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้กระหายน้ำ แก้นิ่ว แก้อาเจียนเป็นโลหิตและบวมน้ำ), ใบและก้านมะพร้าวนำมาใช้ทำเครื่องจักสานหรือทำไม้กวาดก้านมะพร้าว เป็นต้น นอกจากนี้ มะพร้าวยังสร้างอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้กับคนในชุมชนที่ไม่มีสวนมะพร้าวต่อไปได้อีก เช่น คนสอยและเก็บมะพร้าว ล้งมะพร้าว การทำมะพร้าวขาว เป็นต้น ดังนั้น คนในชุมชนบ้านม้าร้อง จึงมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ผูกพันธ์และเกี่ยวข้องกับมะพร้าวมาอย่างยาวนาน
สำหรับการนำมะพร้าวมาทำเป็นอาหารนั้น นอกเหนือจากยอดมะพร้าวแล้ว ลูกมะพร้าวอ่อนก็เป็นที่นิยมของคนในชุมชนนำมาทำอาหารเช่นกัน โดยใช้กะลาอ่อนของมะพร้าว หรือในภาษาถิ่น เรียกว่า “เหมงพร้าว” ซึ่งเนื้อกะลามะพร้าวจะมีรสสัมผัสที่นุ่ม กรอบ และไม่เหนียว มาทำเป็นแกงเผ็ดใส่เนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะไก่บ้าน เรียกว่า “แกงเหมงพร้าวไก่บ้าน” จึงเป็นอาหารที่คนบางสะพานนิยมทำกินกันเป็นอย่างมาก และถือได้ว่าเป็นอาหารเฉพาะถิ่นที่หากินได้ในเขตพื้นที่อำเภอบางสะพาน และอำเภอใกล้เคียงเท่านั้น
ในปัจจุบันบ้านม้าร้อง เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี และเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานในเรื่อง การบริหารจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยสภาผู้นำชุมชน มีนักท่องเที่ยวและผู้สนใจมาศึกษาดูงานในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการนำเมนูแกงเหมงพร้าวไก่บ้านบรรจุไว้ในรายการอาหารของหมู่บ้านเพื่อให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่มาศึกษาดูงานในหมู่บ้านได้ลิ้มลอง ซึ่งก็ได้รับการตอบรับที่ดีเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ เมนูแกงเหมงพร้าวไก่บ้าน ยังเป็นเมนูอาหารที่สำคัญ คือ เป็นอาหารทรงโปรดของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ที่ได้ทำถวายเป็นครั้งแรกเมื่อพระองค์ท่านได้เสด็จมาเปิดวิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน และหลังจากนั้นต่อมาก็ได้มีการทำถวายพระองค์ท่านทุกครั้งที่ได้เสด็จมาทรงงานหรือประทับในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วัตถุดิบ
- ไก่บ้าน 1 ตัว
- เหมงพร้าวต้มแล้ว ½ กิโลกรัม
- กะทิ 1 กิโลกรัม (แบ่งเป็นหัว 4 ขีด / หาง 6 ขีด)
- ใบมะกรูด 4 - 5 ใบ
- เครื่องแกง
พริกแห้ง 30 เม็ด
ตะไคร้(หั่น) 3 ต้น
กระเทียม 30 กลีบ
เกลือเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ
กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
ผิวมะกรูด 1 ลูก
- เครื่องปรุง (รสดี 1 ช้อนชา)
การเตรียมวัตถุดิบ
1. เหมงมะพร้าว คัดเลือกมะพร้าว(มะพร้าวใหญ่) ลูกที่ไม่อ่อนจนเกินไป และไม่ถึงกับแก่ นำมาผ่าเป็น 2 ซีก แล้วเอาช้อนแกงแคะในส่วนที่เป็นกะลาออกมาแช่น้ำเกลือ(เพื่อไม่ให้เนื้อมะพร้าวดำ) ประมาณ 10 นาที หลังจากนั้นเอามาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ (คล้ายหั่นหน่อไม้เส้น) แล้วนำไปใส่ในน้ำต้มที่กำลังเดือด ทำการต้มให้สุก ประมาณ 10 นาที (เอามือหยิกแล้วจะขาดได้ง่าย) แล้วตักขึ้นไปพักในน้ำเย็น เพื่อให้มีความหนุบหนับ
2. ไก่บ้าน นำไก่บ้านที่จัดการเรียบร้อยแล้ว มาล้างน้ำให้สะอาด และนำมาสับเป็นชิ้นๆ พอเหมาะ
3. กะทิ มะพร้าวแกง(มะพร้าวใหญ่) 1 ลูก ปอกเปลือกแล้วผ่าเป็น 2 ซีก นำมาขูดแล้วคั้นกับน้ำอุ่น โดยทำการแบ่งการคั้นกะทิเป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 คั้นหัวกะทิ(4 ขีด) ครั้งที่ 2 คั้นเอาหางกะทิ(6 ขีด)
4. เครื่องแกง นำวัตถุดิบเครื่องแกงที่ได้เตรียมไว้(พริกแห้ง, ตะไคร้, กระเทียม, เกลือเม็ด, ผิวมะกรูด) มาโขลกรวมกันให้ละเอียด แล้วจึงเอากะปิที่เตรียมไว้มาโขลกรวมกันอีกครั้ง
วิธีทำและปรุงรส
- นำไก่บ้านลงไปรวนให้พอสุก แล้วจึงใส่เครื่องแกงที่โขลกไว้ แล้วผัดให้เข้ากัน
- ใส่หางกะทิลงไปผัดให้เนื้อไก่บ้านสุก จากนั้นจึงใส่หัวกะทิตามลงไป แล้วใส่เหมงมะพร้าวที่ต้มไว้ตามลงไปอีกที
- ใส่เครื่องปรุงรส คือ เกลือ 4 – 5 เม็ด / รสดี 1 ช้อนชา
- เมื่อแกงเดือดแล้ว ให้ใส่ใบมะกรูด(ฉีก) แล้วจึงยกขึ้นจากเตา พร้อมรับประทานกับผักสดต่างๆ
ทีมบ้านม้าร้อง หมู่ที่ 4 ตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
รุ่นประชาชนทั่วไป (อายุไม่เกิน60ปี)
ความเป็นมา
“มะพร้าว” ถือได้ว่าเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และถือได้ว่าเป็นแหล่งผลิตมะพร้าวที่สำคัญของประเทศด้วย เนื่องจาก มีประชาชนในพื้นที่ทำสวนมะพร้าวกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน และอำเภอบางสะพานน้อย สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวได้เป็นอย่างดี ซึ่งบ้านม้าร้อง หมู่ที่ 4 ตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก็เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่คนในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพหลักในการทำสวนมะพร้าว และเป็นการทำมาจากรุ่นสู่รุ่น จนถือได้ว่า “มะพร้าว คือ ชีวิต” เพราะมะพร้าวเป็นพืชมหัศจรรย์ที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตของคนในชุมชนบ้านม้าร้อง ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไม้จากลำต้นมาสร้างที่อยู่อาศัย, ยอดมะพร้าวและลูกมะพร้าวนำมาใช้เป็นอาหาร, น้ำมะพร้าวและเนื้อมะพร้าวนำมาทำเป็นยารักษาโรค(เนื้อมะพร้าว รับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ แก้ไข้ กระหายน้ำ / น้ำมะพร้าว รสหวานเค็ม รับประทานเป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้กระหายน้ำ แก้นิ่ว แก้อาเจียนเป็นโลหิตและบวมน้ำ), ใบและก้านมะพร้าวนำมาใช้ทำเครื่องจักสานหรือทำไม้กวาดก้านมะพร้าว เป็นต้น นอกจากนี้ มะพร้าวยังสร้างอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้กับคนในชุมชนที่ไม่มีสวนมะพร้าวต่อไปได้อีก เช่น คนสอยและเก็บมะพร้าว ล้งมะพร้าว การทำมะพร้าวขาว เป็นต้น ดังนั้น คนในชุมชนบ้านม้าร้อง จึงมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ผูกพันธ์และเกี่ยวข้องกับมะพร้าวมาอย่างยาวนาน
สำหรับการนำมะพร้าวมาทำเป็นอาหารนั้น นอกเหนือจากยอดมะพร้าวแล้ว ลูกมะพร้าวอ่อนก็เป็นที่นิยมของคนในชุมชนนำมาทำอาหารเช่นกัน โดยใช้กะลาอ่อนของมะพร้าว หรือในภาษาถิ่น เรียกว่า “เหมงพร้าว” ซึ่งเนื้อกะลามะพร้าวจะมีรสสัมผัสที่นุ่ม กรอบ และไม่เหนียว มาทำเป็นแกงเผ็ดใส่เนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะไก่บ้าน เรียกว่า “แกงเหมงพร้าวไก่บ้าน” จึงเป็นอาหารที่คนบางสะพานนิยมทำกินกันเป็นอย่างมาก และถือได้ว่าเป็นอาหารเฉพาะถิ่นที่หากินได้ในเขตพื้นที่อำเภอบางสะพาน และอำเภอใกล้เคียงเท่านั้น
ในปัจจุบันบ้านม้าร้อง เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี และเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานในเรื่อง การบริหารจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยสภาผู้นำชุมชน มีนักท่องเที่ยวและผู้สนใจมาศึกษาดูงานในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการนำเมนูแกงเหมงพร้าวไก่บ้านบรรจุไว้ในรายการอาหารของหมู่บ้านเพื่อให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่มาศึกษาดูงานในหมู่บ้านได้ลิ้มลอง ซึ่งก็ได้รับการตอบรับที่ดีเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ เมนูแกงเหมงพร้าวไก่บ้าน ยังเป็นเมนูอาหารที่สำคัญ คือ เป็นอาหารทรงโปรดของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ที่ได้ทำถวายเป็นครั้งแรกเมื่อพระองค์ท่านได้เสด็จมาเปิดวิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน และหลังจากนั้นต่อมาก็ได้มีการทำถวายพระองค์ท่านทุกครั้งที่ได้เสด็จมาทรงงานหรือประทับในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วัตถุดิบ
- ไก่บ้าน 1 ตัว
- เหมงพร้าวต้มแล้ว ½ กิโลกรัม
- กะทิ 1 กิโลกรัม (แบ่งเป็นหัว 4 ขีด / หาง 6 ขีด)
- ใบมะกรูด 4 - 5 ใบ
- เครื่องแกง
พริกแห้ง 30 เม็ด
ตะไคร้(หั่น) 3 ต้น
กระเทียม 30 กลีบ
เกลือเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ
กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
ผิวมะกรูด 1 ลูก
- เครื่องปรุง (รสดี 1 ช้อนชา)
การเตรียมวัตถุดิบ
1. เหมงมะพร้าว คัดเลือกมะพร้าว(มะพร้าวใหญ่) ลูกที่ไม่อ่อนจนเกินไป และไม่ถึงกับแก่ นำมาผ่าเป็น 2 ซีก แล้วเอาช้อนแกงแคะในส่วนที่เป็นกะลาออกมาแช่น้ำเกลือ(เพื่อไม่ให้เนื้อมะพร้าวดำ) ประมาณ 10 นาที หลังจากนั้นเอามาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ (คล้ายหั่นหน่อไม้เส้น) แล้วนำไปใส่ในน้ำต้มที่กำลังเดือด ทำการต้มให้สุก ประมาณ 10 นาที (เอามือหยิกแล้วจะขาดได้ง่าย) แล้วตักขึ้นไปพักในน้ำเย็น เพื่อให้มีความหนุบหนับ
2. ไก่บ้าน นำไก่บ้านที่จัดการเรียบร้อยแล้ว มาล้างน้ำให้สะอาด และนำมาสับเป็นชิ้นๆ พอเหมาะ
3. กะทิ มะพร้าวแกง(มะพร้าวใหญ่) 1 ลูก ปอกเปลือกแล้วผ่าเป็น 2 ซีก นำมาขูดแล้วคั้นกับน้ำอุ่น โดยทำการแบ่งการคั้นกะทิเป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 คั้นหัวกะทิ(4 ขีด) ครั้งที่ 2 คั้นเอาหางกะทิ(6 ขีด)
4. เครื่องแกง นำวัตถุดิบเครื่องแกงที่ได้เตรียมไว้(พริกแห้ง, ตะไคร้, กระเทียม, เกลือเม็ด, ผิวมะกรูด) มาโขลกรวมกันให้ละเอียด แล้วจึงเอากะปิที่เตรียมไว้มาโขลกรวมกันอีกครั้ง
วิธีทำและปรุงรส
- นำไก่บ้านลงไปรวนให้พอสุก แล้วจึงใส่เครื่องแกงที่โขลกไว้ แล้วผัดให้เข้ากัน
- ใส่หางกะทิลงไปผัดให้เนื้อไก่บ้านสุก จากนั้นจึงใส่หัวกะทิตามลงไป แล้วใส่เหมงมะพร้าวที่ต้มไว้ตามลงไปอีกที
- ใส่เครื่องปรุงรส คือ เกลือ 4 – 5 เม็ด / รสดี 1 ช้อนชา
- เมื่อแกงเดือดแล้ว ให้ใส่ใบมะกรูด(ฉีก) แล้วจึงยกขึ้นจากเตา พร้อมรับประทานกับผักสดต่างๆ