OKMD กระตุกต่อมคิด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ - Opportunity for All
กระตุกต่อมคิด เพื่อพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา

เคย...คนท้ายเหมือง

943 ครั้ง
นายธีรุตม์ สันหวัง
รุ่นประชาชนทั่วไป (อายุไม่เกิน60ปี)

เคย...คนท้ายเหมือง
คลิปนี้ อยากเล่าเกี่ยวกับของดีชุมชนที่ใครไปใครมาก็รู้กันภายในจังหวัดว่า เคยหรือกะปิ ท้ายเหมืองนั้นเป็นที่เรื่องลือกันในเรื่องของ สี กลิ่น รสชาติ มันเป็นแค่วัตถุดิบหนึ่งในตู้เย็นที่หลายบ้านต้องมีติดตู้เย็นเอาไว้ เพื่อประกอบอาหาร แต่หลายพื้นที่ยังไม่รู้ว่าจริงๆแล้วในประเทศไทยมีของดีเป็นจำนวนมาก 1 ในนั้นคือกะปิ ท้ายเหมืองและเครื่องแกงท้ายเหมืองที่รู้กันในจังหวัดทางภาคใต้และใกล้เคียง แต่วันนี้ได้มีโอกาสที่จะได้เล่าถึงที่มา กระบวนการทำและเสน่ห์ในหมู่ชาวประมงที่ใครไปใครมาในช่วงนั้นต้องถือเป็นความโชคดีของพวกเขาเหล่านักท่องเที่ยวหากได้เห็นการรุนเคยบ้านเรา เพราะทุกคนจะเกิดความสงสัยและจอดรถแวะเดินเข้ามา ถึงวันนี้หลายคนจะไม่ได้มาเห็นด้วยตาตัวเอง แต่คลิปวีดีโอชุดนี้ อาจได้เป็นหนึ่งในวีดีโอที่จะทำให้หลายคนเห็นความสวยงามของธรรมชาติทะเลอันดามันที่เราคนท้ายเหมืองยังคงรักษาและคงความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ โดยมีเนื้อหาตามนี้ที่แนบไปด้านล่าง 

เสียงเครื่องเรืองที่ดังสวนกันในท้องทะเลช่วงมรสุม เป็นเอกลักษณ์ หนึ่งของปีที่สร้างสีสัน ให้กับท้องทะเลอันดามันหน้าบ้านผม กลิ่นที่โชยฟุ้งไปทั่วทั้งชายหาดบอกพวกเราว่า หน้าเคยมาถึงแล้ว  เคยที่คนบ้านเราเรียกกันติดปากหรือภาษากลางเรียกกันว่ากะปิ นี่เป็นของดีของท้ายเหมือง มันอาจเป็นเพียงแค่วัตถุดิบหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารในครัว แต่เรื่องราวของเคย เมื่อก่อนผมก็เคยมองว่า ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่แม่เอาใส่เอาไว้ในตู้เย็น แต่พอเริ่มโตขึ้นก็ได้รู้ว่า ฤดูกาลหนึ่งของปี ที่วิถีของชาวประมงดูจะคลึกครื้นเป็นพิเศษ บ้านเรานอกจากจะมีทรัพยากรทางธรรมชาติที่หลากหลายแล้ว แต่สิ่งที่ผมอยากให้ทุกคนเห็นคือความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลอันดามันในวันนี้ ยังคงเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยง ยังคงเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงอาชีพของคนอีกหลายร้อยคน กุ้งตัวเล็กที่จับกลุ่มรวมตัวกันเป็น ขะโยงใหญ่ไหลไปตามคลื่นทะเลสีฟ้า บอกพวกเราว่าเคยขึ้นแล้ว บางคนสังเกตจากท้องฟ้าสีแดงส้มที่เป็นสัญลักษณ์ตามวิถีของชาวเล ที่รู้กันว่าเมื่อฟ้าสางเมื่อไหร่ เราต้องออกไปรุนเคย  เคยท้ายเหมืองหรือที่เขาเรียกกันว่ากะปิเป็นของดีที่เราคนพังงารู้จักกันดี กลิ่นที่หอมฟุ้งเมื่อเราปรุงอาหาร  รสชาติที่เข้มข้นเพราะหลายคนอุทานออกมาเป็นเสียงเดียวกัน นอกจากรสชาติ สี และกลิ่น ผมว่าหลายคนจะต้องลองมาดูกรรมวิธีการผลิตที่ยังคงรักษาไว้ ตามคันรองของชาวปะมงจากรุ่นสู่รุ่น มันสร้างเสน่ห์มากกว่ารสชาติของตัวกะปิเอง ซึ่งการรุนเคยก็ใช่ว่าจะทำได้ทุกวันหรือทั้งปี แต่มันจะมีหยาม หรือที่ทุกคนเข้าใจในคำว่าฤดูรุนเคยนั้นคือการเข็นขึ้นมาซึ่งบางคนที่มีเรือหรือจับกลุ่มกันก็จะเอาเรือออกไปลากขึ้นมาครั้งละเป็นตัน. แต่สำหรับบางคนที่ทรัพยากรจำกัดก็จะใช้วิธีการช้อนขึ้นมาโดยเอาปากสวะที่มีไม้ขนาบลำตัวกับผ้าขาวตาข่ายรุนขึ้นมาจากทะเล แต่นั้นก็ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของกระบวนการเพราะยังต้องเอามาทำความสะอาด นำมาตากและต้องเฝ้ากันเป็นวัน ก่อนจะนำไปตำหรือบดเพื่อบรรจุออกจำหน่ายภายใต้ชื่อของ เคย ท้ายเหมือง นั้นถือเป็นการการันตีถึงชื่อเสียงที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ 

มันมายังไง ใช้เวลาเท่าไหร่ ต้องรอฤดูกาลไหน สังเกตท้องฟ้ายังไง เพราะคุณค่าของมันได้เกิดขึ้นแล้วตอนที่เราได้ฟังเรื่องราวนี้ ละนี่แหละครับ มันคือของดีของบ้านเรา มันคือเสน่ห์ของบ้านเรา มันเป็นของขึ้นชื่อของชุมชน และมันคือของดีบ้านฉัน