OKMD กระตุกต่อมคิด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ - Opportunity for All
กระตุกต่อมคิด เพื่อพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา

โลกเปลี่ยน คนเปลี่ยน : Make it Possible ด้วยตัวเราเอง

2826

ทอล์คพิเศษ เรื่อง “โลกเปลี่ยน คนเปลี่ยน : Make it Possible ด้วยตัวเราเอง” โดย รศ. ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์




เป็นการพูดคุยเพื่อให้เห็นแนวโน้มของความรู้และทักษะที่เป็นที่ต้องการในสหัสวรรษใหม่ โดยชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของการพัฒนาเศรษฐกิจและธุรกิจ หรือ Trend of Economic and Business Development โดยแนวโน้มจะมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้


  1. การเปลี่ยนแปลงจาก Commodity-Based มาเป็น Height Value-Based คือการเปลี่ยนแปลงจากการผลิตสินค้าหรือบริการ เพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการของผู้บริโภคหรือมุ่งใช้แรงงานอย่างเดียว มาเน้นที่การเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการให้มีคุณภาพมากขึ้น

  2. เปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้เล่นภายในประเทศเป็นผู้เล่นในระดับนานาชาติ ได้แก่ กลุ่มของอาเซียน เอเซีย และระดับสากลโลก เนื่องจากข้อตกลงทางการค้าและการเปิดเสรีทางการค้าในระดับภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะ CLMV+ไทย คือ ประเทศ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย ซึ่งเป็นประเทศในกลุ่ม ASEAN ที่มีแนวโน้มเศรษฐกิจโตต่อเนื่อง มีค่าจ้างแรงงานไม่สูงนัก และมีพรมแดนติดกับไทยทุกประเทศจึงเหมาะมากที่ผู้ประกอบการไทยจะเข้าไปลงทุนหรือหาลู่ทางทำธุรกิจ สำหรับเอเชียใต้มีประเทศอินเดียที่น่าจับตามอง นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่จีนจะมีการลงทุนในต่างประเทศ

  3. Going Greener คือการคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมมากขึ้นโดยการลงทุนทำธุรกิจจะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมซึ่งต่อไปอาจมีบทลงโทษต่อประเทศที่มีการทำธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม

  4. Socially Acceptable ได้แก่ การเป็นที่ยอมรับในสังคม

  5. เปลี่ยนจาก Cost Effectiveness and Economies of Scale มาเป็น Innovation Orientation and Economies คือ การเปลี่ยนจากการทำงานแบบต้นทุนประสิทธิภาพและการประหยัดเนื่องจากขนาด ซึ่งเป็นวิธีการที่มุ่งเน้นกำไร ทำกำไรให้มาก มาสู่การใช้นวัตรกรรมมาเพิ่มผลผลิตทั้งสินค้า บริการและกระบวนการในการทำงาน โดยการนำการบริหารความเสี่ยง หรือ Risk Management มาใช้ ซึ่งวิเคราะห์จากความเสี่ยงสองประการ คือ Economic Risk และ Non- Economic Risk

  6. Strength and Flexibility คือ มีความเข้มแข็งและความยืดหยุ่น ซึ่งจะทำให้การบริหารธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ความเข้มแข็งและยืดหยุ่นจะนำมาใช้ในเรื่องของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน(Chain Management) และการปรับตัวและยอมรับความเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอก และความเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่ด้านเศรษฐกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมยืดหยุ่น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

รศ. ดร.สมภพ ได้คาดการณ์ทิศทางอนาคตของเศรษฐกิจโลกในปี 2020 ว่าการเติบโตอย่างรวดเร็ว ของเศรษฐกิจแบบสังคมเมืองจะเข้ามาแทนที่ หมายถึง พฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม รูปแบบลีลาของชีวิตหรือ Lifestyle จะเปลี่ยนแปลงไป โดยคนรุ่นใหม่เข้ามาแทนที่คนรุ่นเก่า จะมีกลุ่มชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้จะมีพลเมืองสูงอายุเพิ่มมากขึ้น โดยดูจากอัตราการเกิดในหลายประเทศน้อยลงและจำนวนอัตราของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดสังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) หมายถึงการมีประชากรที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ


นอกจากนี้รูปแบบของการทำธุรกิจจะเปลี่ยนไปจากระบบเศรษฐกิจฐานการผลิตไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานบริการ (Service-based Economy) คือ รูปแบบของธุรกิจจะหันมาแข่งขันกันที่การบริการมากขึ้น ซึ่งการบริการที่ว่านี้มีด้วยกัน 2 ประเภท บริการประเภทแรก คือ การบริการที่มากับตัวสินค้า (Smart Service) ตัวสินค้ามีความฉลาดมาก ขึ้น สินค้าจะสามารถให้บริการผู้ใช้ได้มากขึ้น เพื่อตอบสนองให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกสบายและปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งบริการประเภทนี้ต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอย่างมากและประเภทสินค้าที่เริ่มจะเห็นบริการประเภทนี้ได้แก่ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ส่วนบริการประเภทต่อมาคือ บริการที่ผูกติดอยู่กับความเชี่ยวชาญ ความชำนาญและทักษะของคน


ประการสุดท้ายของทิศทางเศรษฐกิจโลกในปี 2020 ก็คือ บทบาทของเงินดอลลาร์ (Roles of Dollarization) ยังคงมีบทบาทในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศและสามารถที่จะหาประโยชน์ได้จากการลงทุนทางการเงิน


แนวโน้มของโลกในอนาคตจะป็นโลกยุคดิจิตอล อินเตอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ความต้องการทางกายภาพ (Physical Needs) ซึ่งเป็นความต้องการในเรื่องพื้นฐานของมนุษย์จะน้อยลงซึ่งมีผลให้การบริโภคสินค้าที่ตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางกายภาพลดลงไปด้วย นอกจากนี้โลกจะหันมาสนใจในเรื่องของการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ (Climate Change)


ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 1789.34 KB)