OKMD กระตุกต่อมคิด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ - Opportunity for All
กระตุกต่อมคิด เพื่อพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา

เสวนา Infinity and Beyond: ต่อยอดความคิดด้วยนวัตกรรม

4107
เสวนา Infinity and Beyond: ต่อยอดความคิดด้วยนวัตกรรม

วิทยากร - คุณสฤณี อาชวานันทกุล และ คุณโตมร ศุขปรีชา


คุณสฤณีมองว่า Innovation คล้ายกับคำว่าความใหม่ หรืออีกความหมายหนึ่งคือการทำให้เป็นรูปธรรมโดยที่ไม่มีใครสามารถทำได้มาก่อน ซึ่งไม่ได้ตั้งต้นจากความต้องการของผู้บริโภค อยู่ที่วิธีมองนวัตกรรม โดยไม่จำเป็นต้องตอบโจทย์ธุรกิจ และไม่จำเป็นจะต้องเป็นเทคโนโลยีเสมอไป จากงานวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมทางสังคมในชนบท ยกตัวอย่าง กลุ่มเครือข่ายสัจจะลดรายจ่ายวันละบาทของครูชบ ยอดแก้ว ที่ตอนนี้มีเงินบริหารรวมกันเป็นพันล้านบาท เงินเหล่านี้จะเป็นการนำเงินไปออมเพื่ออนาคตในกรณีเจ็บป่วยหรือมีเหตุจำเป็น เป็นเหมือนการทำธุรกิจเพื่อสังคม เอาโจทย์ปัญหามาแก้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเทคโนโลยีตลอด เราต้องมองโจทย์ที่ชัดเจนก่อนว่าต้องการจะแก้ไขปัญหาจุดไหน


ในมุมของคุณโตมร ทุกคนกำลังกังวลเรื่อง Disruption มากๆ ซึ่งมีเยอะมากในสังคมไทย แต่บางสิ่งก็ไม่สามารถไป Disrupt ได้เช่นไปรษณีย์ไทย สังคมไทยตอนนี้เป็นเส้นและมีลูกศรตอนปลายที่นำไปสู่นวัตกรรม ผู้อาวุโสอยู่ในสังคมที่เป็น collectivism แต่ตัวเด็กๆรุ่นใหม่จะอยู่ในสังคมที่เป็น Individualism เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของสังคม เขาสั่งให้ทำอะไรก็จะทำตาม Innovation จะเกิดขึ้นมาในแบบตะวันตกซึ่งเป็น Individualism มากกว่า โลกทั้งหมดเริ่มเปลี่ยนไปในแนวราบมากขึ้น เปรียบเทียบคล้ายคลื่นสึนามิที่ค่อยๆกระทบและบั่นทอนให้ตึกเตี้ยลง บางทีการ Disrupt ทำให้บางธุรกิจเกิดความท้าทาย พยายามดิ้นรนเพื่อต่อสู้กับสิ่งเหล่านี้


บริษัทต่างๆให้ความสำคัญกับพนักงาน ปรับตัวได้ต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา การเป็นผู้ประกอบการที่ดีที่สุด คือคนที่มองการณ์ไกล พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทุกอย่างไม่ได้จำเป็นที่จะเป็น Disruptive Innovation แต่คือ Business model แบบใหม่ๆ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเลย เช่น คนอาจจะมองว่าการผลิตรถยนต์คือการที่ไป Disrupt เกวียน แต่ถ้าดูจริงๆแล้ว รถยนต์พัฒนามาจากเกวียนก็จริง แต่มีการนำการตลาด และ Business model แบบใหม่เข้ามาใช้งาน ซึ่งอาจจะต้องมองในมุมของนามธรรม ผลลัพธ์สามารถเห็นได้ชัดเจน ส่วนใหญ่จะมาจากนอกขอบเขตตลาดเดิม มักไม่ได้มาจากองค์กรขนาดใหญ่ ยิ่งบริษัทใหญ่ยิ่งมีกระบวนการเยอะมาก แต่การคิดค้นอะไรใหม่จะต้องใช้ความเสี่ยงอย่างสูง เส้นทางจากไอเดียไปสู่ผลผลิตที่ทำกำไรได้ใช้ระยะเวลาดำเนินการหลายปี


ดัชนีความก้าวหน้าต่างๆ จะเห็นได้ชัดว่าจะมีบริษัทต่างประเทศค่อนข้างเยอะ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ต้องเปิดพื้นที่ให้คนได้แสดงความเป็นตัวของตัวเองเพื่อให้เอื้อต่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ นวัตกรรมสามารถเกิดได้ทุกที่ Innovation กับเทคโนโลยีไม่จำเป็นจะต้องอยู่ด้วยกัน คนที่จะคิดค้นนวัตกรรมได้จะต้องมีเสรีภาพทางความคิด มีโอกาสที่จะได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ Innovation คือสิ่งใหม่ๆที่มีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งอาจจะไม่สำเร็จ อาจจะมีคนไม่เห็นด้วย เป็นอุปสรรค์กีดขวางความคิดและไอเดียใหม่ๆ คนเหล่านี้ควรได้รับการปกป้องจากองค์กร ควรทำให้เขารู้สึกว่าเขาจะทำอะไรก็ได้ อยากทดลองอะไรก็ได้ลอง


ประเทศฟินแลนด์เป็นประเทศหนึ่ง ที่เปิดโอกาสให้คนในประเทศเขาเกิดความคิดอะไรใหม่ๆ เพราะเด็กๆได้แสดงไอเดียออกมาโดยไม่ต้องมีคุณครูมาคอยคุมหรือมาจับผิด เปิดพื้นที่ให้เด็กได้ทดลอง นวัตกรรมซึ่งทำให้เรารู้สึกเหมือนย้อนวัยไปเป็นเด็ก เพราะเวลาเด็กเล่นคือการสื่อให้รู้ว่าโลกนี้เขาสามารถทำอะไรก็ได้ ทดลองอะไรก็ได้ โดยไม่ถูกว่า หรือตำหนิ ทักษะไม่สำคัญเท่าบรรยากาศและสภาพแวดล้อม ทักษะที่สำคัญและทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่รอดได้คือทักษะ Critical Thinking หรือการคิดแบบเชิงวิพากย์ ซึ่งต้องมีความรู้พอ ก่อนที่จะตัดสินใจอะไรบางอย่างเพื่อการอยู่รอด เวลาสอนมักจะให้นักเรียนอ่าน Case study ก็จะให้เด็กจับเป็นกลุ่มแล้วแบ่งหน้าที่ว่าแต่ละกลุ่มเป็นธุรกิจประเภทไหน แล้วให้ช่วยกันคิดวิธีแก้ปัญหา และถกเถียงกันว่ามีประเด็นอย่างไร


ความ Innovative อาจจะไม่ได้เกิดกับคนรุ่นใหม่ก็เป็นได้ ความรู้ใหม่ๆ อยู่ในรูปแบบของภาษาทั่วโลก การเรียนเป็นภาษาไทย หลงใหลความเป็นไทยมากเกินไปอาจทำให้เราพลาดโอกาสทางการศึกษาไปก็ได้ เพราะความรู้ส่วนใหญ่ฝังอยู่ในภาษาอื่นๆ ซึ่งต้อง Disrupt ความหลงใหลในความเป็นคนไทย ควรจะคิดให้นอกกรอบ การคิดสร้างสรรค์ได้จะต้องคิดเป็นกลไก เมื่ออยู่ในสังคมมีแค่คนจำนวนหนึ่งที่จะเห็น Pre-conception ของตัวเองแต่ทำอะไรไม่ได้ ทำได้แค่มีความพยายามที่จะเอาตัวรอดไปให้ได้


Human Capital คือทุนมนุษย์ เหมือนทรัพยากร แต่มีเสรีภาพในความคิด สามารถเติบโตในทางที่เขาเป็น คุณโตมรเป็นคนที่อคติกับคำว่าทุนมนุษย์ เขาเลยคิดว่าไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เป็นปัจจัยในการสร้างนวัตกรรม มนุษย์ไม่ได้สร้างสาธารณูปโภคทางปัญญาให้ตัวเอง เช่นห้องสมุด หอศิลป์ เป็นต้น เปรียบเสมือนการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับมนุษย์ คุณสฤณีเป็นนักเศรษฐศาสตร์ เธอจึงมองว่าการที่มองมนุษย์เป็น Asset จึงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับเธอ โลกกำลังเข้าสู่เศรษฐกิจไปยังฐานความรู้ เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องมี Knowledge worker เป้าหมายไม่ควรเป็นไปอยู่ในการสร้างนวัตกรรม ซึ่งควรขึ้นอยู่กับโจทย์และประเด็นหรือปัญหาที่จะต้องแก้ โดยวิธีการเหล่านั้นจะนำไปสู่ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม KPI ควรบ่งบอกได้ว่าคนได้เกิดการพัฒนาทางความคิดเชิงวิเคราะห์ ยิ่งมี Pre-conception ที่เยอะ ก็จะยิ่งมองไม่เห็นโจทย์ ดังนั้นจึงควรจะมองให้แตกฉานก่อนว่าทุนมนุษย์คืออะไร ถึงจะเอานวัตกรรมเข้าไปใส่ได้


Knowledge คือความรู้ซึ่งไม่รู้ว่าแต่ละคนจะคิดเหมือนกันหรือไม่? เป็นผลกระทบต่อความมั่นคงหรือไม่? มนุษย์มีเสรีภาพในการพูดหรือตัวสอบหรือไม่? ทุกอย่างต้องมีพื้นฐานที่ดีจึงจะมีฐานความรู้ที่ดี โครงสร้างเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเป็นตัวกำหนดว่าอันไหนทำได้ อันไหนทำไม่ได้ ผู้ประกอบการมีเสรีภาพในการคิดอะไรไหมๆหรือเปล่า ในแง่กฎหมายลิขสิทธิ์ ควรต้องมีกระบวนการที่ปกป้องเขาได้จริงๆ การที่ผู้ประกอบการคิดอะไรใหม่ๆ คือการแสดงไอเดียใหม่ และทัศนคติใหม่ ๆ มองโลกที่เชื่อในคำว่าเปิด การเข้าถึงทรัพยากร การแบ่งปันผลประโยชน์


ในเชิงโครงสร้างทางกฎหมายที่เคยเชื่อ รูปธรรมที่ทุกคนเห็นจะเป็นกฎหมาย โดยจะเอื้อให้ผู้ประกอบการเล่นแบบคึกคัก เปรียบเสมือนผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งไม่ควรจะเกิดเหตุการณ์ที่รัฐบาลมีหมวกหลายๆใบอย่างนี้ วิธีคิดหรือว่ากรอบคิดในเชิงโครงสร้างสถาบัน รู้สึกว่ายังมีปัญหาอยู่เยอะ มีกองทุนพัฒนา Digital ขึ้นมา ในโครงสร้างสถาบันยังคงใช้โครงสร้างเดิมๆไม่มีการพัฒนาเลย


คุณโตมร มองว่า Thailand 4.0 ก็เปรียบเสมือนโลกออนไลน์หรือสื่อสังคม มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆไปในทางที่ดีเช่น เว็บไซต์ที่มีการพัฒนา เมื่อก่อนจะมีการแยกอย่างชัดเจนระหว่างโลกไซเบอร์กับโลกความเป็นจริง แต่อย่างล่าสุดที่ได้มี Application ชื่อว่า Pokemon Go เข้ามา ทำให้เกิดการใช้ AR และทำให้เส้นระหว่างความเป็นจริงกับโลกไซเบอร์ถูกเบือนเข้าหากัน จึงไม่น่าแปลกใจที่จะกลายเป็น Post-truth หรือเรื่องราวหลังโลกความเป็นจริง ตอนนี้มันวางอยู่ในสังคมไทย เรายังแยกแยะไม่ออกว่าอะไรคือความจริงที่คิดเหมือนกัน Inclusivity เกิดจากฐานของสังคมแบบ Individualism มีเสียงวิพากย์วิจารณ์กันและกัน


คุณสฤณีคิดว่าสิ่งที่เลวร้ายที่สุดของ Thailand 4.0 คือการไม่ต่างจากเดิมมาก ความเหลื่อมล้ำอาจจะไม่ได้ลดลง รัฐบาลอาจจะมีวาระความมั่นคงจากภายในและนอกประเทศ สอดส่องข้อมูลเข้าออก ในส่วนของบริการภาครัฐ มีแอปพลิเคชั่นออกมาหลายอันมาก เก็บข้อมูลละเอียดยิบ มาจากภาครัฐ แต่ยังสามารถ แฮกข้อมูลได้อย่างง่ายดาย จึงควรต้องตั้งคำถามว่าแนวโน้มจะไปในทิศทางไหน ถ้าเป็นแบบนั้นจริงอะไรจะเป็นประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์นี้


Digital Evolution Index คือดัชนีวิวัฒนาการทางดิจิตอล ล่าสุด 2014 เขาแบ่งทั้งโลก แต่ละประเทศว่ามีการพัฒนาทางดิจิตอลมากน้อยแค่ไหน ดูทั้งฝั่ง supply การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต Bandwidth เรื่องของความตื่นตัวของผู้บริโภค การเข้าถึงการบริการทางการเงิน โครงสร้างทางสถาบัน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เอื้อต่อการพัฒนามากน้อยแค่ไหน อย่างประเทศไทย ต่างชาตินับว่าเป็นประเทศที่เป็น Break-out country เป็นประเทศที่มีตัวชี้วัดค่อนข้างดี มีการแข่งขันในเรื่องนี้ค่อนข้างมากขึ้น แต่ว่าตัว Institution ก็ยังเป็นปัญหาอยู่ดี ควรมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะได้มี Performance ที่ดีขึ้นนั่นเอง ถ้ามองในระดับของประเทศ ต้องดูว่ามีการจดสิทธิบัตรมากน้อยแค่ไหน การลงทุนวิจัยและพัฒนา ดูจากยอดขาย ตัวชี้วัดเหล่านั้นก็สำคัญ แต่ขึ้นอยู่กับประเด็นที่ต้องการจะแก้ไข


ปัญญากับความรู้นั้นไม่เหมือนกัน ความรู้สามารถหาได้ตามห้องเรียนหรือหนังสือ แต่ปัญญานั้นขึ้นอยู่กับการคิดเชิงวิพากย์ การกรองข้อมูล ตั้งคำถาม และหาวิธีแก้ไข ถ้าหากมนุษย์ไม่มีทักษะเหล่านี้ก็จะไม่สามารถนำไปพัฒนาตัวเองได้ ถ้าทุกคนตีโจทย์ให้แตก เส้นทางในการแก้ปัญหาก็จะง่ายขึ้น การจะสร้างสาธารณูปโภคทางปัญญาเริ่มต้นได้จากตัวเองและคนใกล้ๆตัว การสร้างวัฒนธรรมการอ่าน เพราะว่าการอ่านมี 4 ระดับ คือ อ่านให้อ่านออกเขียนได้ อ่านในแบบที่เราสามารถเล่าได้ อ่านแบบวิเคราะห์ และอ่านเพื่อให้เห็น Pre-conception โดยทั่วไปคนไทยจะเป็นระดับที่ 2 คือการอ่านแล้วสามารถเล่าได้เท่านั้น


ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 159.26 KB)