OKMD กระตุกต่อมคิด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ - Opportunity for All
กระตุกต่อมคิด เพื่อพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา

"ความท้าทายของผู้ประกอบการไทยใน AEC: มุมมองจากผู้บริหารยุคใหม่"

1998

โดย คุณประพัฒน์ ติยะพานิชกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยแฟชั่นพลาสติกอุตสาหกรรม จำกัด




บริษัท ไทยแฟชั่นพลาสติกอุตสาหกรรม จำกัด เป็นผู้ผลิตไม้แขวนป้อนอุตสาหกรรมเสื้อผ้าส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ที่ผ่านมาในประเทศไทยมีผลิตกันมาก โดยมีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 15 ล้านชิ้น/เดือน ถ้ารวมกำลังการผลิตในภูมิภาคและจีน ตกราว 200-300 ล้านชิ้น/เดือน ถ้ารวมตลาดยุโรปด้วย จะตกราว 300-400 ชิ้น/เดือน การจะขยายไปลงทุนยังประเทศรอบข้างต้องพิจารณาหลายอย่าง ดังนี้


สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงที่สุด แต่เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุด ระบบการศึกษาดีที่สุดในภูมิภาคนี้ แต่มีข้อเสียคือต้องเข้าไปเรียนตั้งแต่ ป.1 เพราะคนจีนนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนกันมากเพราะได้ภาษาจีนและเพิ่มภาษาอื่นๆ คนมาเลเซียก็นิยมส่งบุตรหลานไปเรียนกัน 4,000-5,000 คน/วัน ทำให้เกิดการแย่งที่เรียนของชาวสิงคโปร์ คนไทยจะมีปัญหาคือสิงคโปร์พูดภาษาจีนเป็นหลัก จะทำให้ลูกหลานของเราไปแล้วโตขึ้นจะใช้ภาษาไทยไม่เป็น


อินโดนีเซียมีประชากรมากที่สุด ค่าแรงในจากาตาร์ใกล้เคียงไทย มีคนว่างงานเยอะ แต่โอกาสเติบโตสูงสุด อุตสาหกรรมที่มีโอกาสดีคือรถยนต์ คาดว่าจะแซงเมืองไทย เพราะมีจำนวนประชากรมาก แต่คนงานของเขาจะต้องใช้เวลาละหมาด 5-8 ชั่วโมง/สัปดาห์ ซึ่งเป็นจุดอ่อนด้านการจ้างงาน จะได้แรงงานไม่เต็มเวลา


มาเลเซียเติบโตเร็ว ซึ่งโตเฉพาะเมืองใหญ่ เช่น กัวลาลัมเปอร์ ปีนัง แต่เมืองที่ห่างไกลออกไปจะยังเป็นชนบท


ฟิลิปปินส์มีจำนวนประชากรมาก แต่ฐานการผลิตมีน้อย เพราะมีมรสุมทำให้รถติด มีโครงสร้างพื้นฐานไม่ดีนัก เช่น ถนน โทรศัพท์ ไฟฟ้า ประปา เมื่อ 4 ปีที่แล้วเริ่มมีการสร้างเมืองใหม่ ปัจจุบันสภาพเมืองเริ่มดูดีขึ้น


การเมืองเป็นเรื่องที่ต้องระวัง เพราะทุกประเทศมีการเมืองที่ไม่นิ่งทั้งนั้น เวียดนามทะเลาะกับจีน มีการเผาโรงงาน การค้าเสื้อผ้าหยุดชะงักหายไปทันที 50% เพราะเกิดความไม่มั่นใจว่าส่งสินค้าแล้วจะเก็บเงินได้หรือไม่


ด้านแรงงาน ที่พม่าและเขมรก็ขาดแคลน เพราะนักลงทุนเข้าไปมาก ทุกสัปดาห์มีความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ มีการสร้างโรงงานใหม่ๆ ขึ้นทุกวันอย่างรวดเร็ว มูลค่าที่ดินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว


ระบบสาธารณูปโภคและเทคโนโลยีที่ใช้ แต่ละประเทศอาจจะยังไม่ดีพอ เช่น เขมร มีถนนระยะทาง 40-50 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมงครึ่ง ในเมืองถนนดีกว่า แต่ว่ารถติด เช่น ระยะ 10 กิโลเมตร กว่าจะเข้าถึงตัวเมืองใช้เวลา 50 นาที ทั้งที่เป็นวันอาทิตย์ตอนเย็น


ขนมธรรมเนียมประเพณี เป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดต้องเรียนรู้จักคนพื้นที่ เช่น  เขมรมีวันหยุดปีละ 30 วัน ไม่รวมวันหยุดเพิ่มเติมที่รัฐบาลประกาศ แต่ยังต้องจ่ายค่าแรงเต็ม คนเขมรนิยมอวดความร่ำรวยด้วยวัตถุนิยม เช่น การอวดใช้รถยุโรป การจัดงานแต่งงานใน Hall ขนาดใหญ่ มีสินสอดเป็นบ้านรถยนต์อย่างหรูหรา


จุดอ่อนคือ คนเขมรคิดช้าและคิดแตกต่างจากไทยมาก ซึ่งไทยมีจุดแข็งตรงที่ได้เรียนรู้จากประเทศทางตะวันตกมานานก่อนเขามาก เขาจึงต้องการปรับตัวอีกมาก ภาษา ต้องเรียนรู้เพิ่มเติม ภาษาอังกฤษและจีนยังไม่พอ จีนยังต้องแยกเป็นกวางตุ้ง ไหหลำ ฮกเกี้ยน ต้องเรียนรู้ภาษาอินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น ถ้าได้หลายภาษาก็เป็นกำไรที่จะคุยกับใครก็ได้


การเข้าไปทำธุรกิจในเขมร ปัจจุบันจะเดินเข้าไปหาซื้อที่ดินแล้วสร้างโรงงาน แล้วหาตลาดเอง เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้แล้ว ต้องหาหุ้นส่วนธุรกิจที่ดี สำหรับธุรกิจของบริษัทได้หุ้นส่วนเป็นเกาหลี ที่มีธุรกิจเสื้อผ้าอยู่ในเขมร เพราะ 95% ของ GDP ของเขมร มาจากโรงงานเสื้อผ้าส่งออก เป็นฐานการผลิต ซึ่งบริษัทแม่เป็นคนตัดสินใจว่าจะสั่งซื้อของใคร การหาตลาดเองอาจจะทำได้ในสินค้าบางตัว เช่น ผลิตกล่องกระดาษ ถุงพลาสติก เพราะไม่ต้องตลาดไม่มีทางเลือก ซึ่งกล่องกระดาษส่วนใหญ่นำเข้าจากไทย หรือจีน


สำหรับธุรกิจไม้แขวนเสื้อผู้ซื้อที่แท้จริงคือ เกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกง จึงต้องมีออฟฟิศอยู่ในเกาหลี ไต้หวัน และมีผู้ช่วยเป็น Co-Partner ในเซี่ยงไฮ้ จึงต้องมองให้ขาดว่าตลาดอยู่ที่ไหน โอกาสจะอยู่ที่นั่น จึงจะไปเจาะตลาดตรงนั้นได้ ถ้ามีนิทรรศการ หรือเทรดแฟร์ที่หน่วยงานราชการจัด ก็ควรตามไปจะเปิดตลาดได้ง่ายกว่า อย่าเอาแต่นั่งคิดอยู่กับที่ อาจจะลองไปเที่ยวดูบ้านเมืองแล้วก็มองตลาดไปเรื่อยๆ ก่อนก็ได้ ไม่ได้ตลาดไม่เป็นไร ถือว่าได้ไปเที่ยวไว้ก่อน


ขั้นตอนต่อมาคือ การวิเคราะห์ตนเอง ว่ามีบุคลากร มีเทคโนโลยีหรือเครื่องจักร และเงินทุน เพียงพอและเหมาะสมหรือไม่ ถ้าไม่พอก็ต้องหาผู้สนับสนุน สิ่งเหล่านี้ต้องสั่งสมประสบการณ์ และใช้เวลาเตรียมตัววางแผนล่วงหน้า 5 ปี ต้องติดต่อหน่วยงานเพื่อการไปลงทุนและการตัดสินใจต่างๆ เมื่อโรงงานแล้ว ก็จะมีคู่ค้ามาร่วมธุรกิจกันต่อได้


เมื่อเข้าไปตั้งโรงงานแล้วสิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะเมื่อทำธุรกิจระดับสากล ประเทศทางตะวันตกจะให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้มาก การลงทุนระยะแรกอาจใช้เงินลงทุนมาก แต่จะวนกลับมาคืนทุนให้เองในระยะยาว นักอุตสาหกรรมต้องทำตั้งแต่ตอนลงทุนก่อสร้าง อย่าทำเพราะถูกบังคับ เพราะเป็นการปกป้องโรงงานก่อนที่จะเกิดความเสียหาย


คนหนุ่มสาวยังมีโอกาสมาก ต้องเรียนรู้โดยการแสวงหาข้อมูล อย่าปิดกั้นตัวเอง แล้วต้องมีพันธมิตร การมีคู่ค้าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจระหว่างประเทศเติบโต จะทำเองเพียงลำพังไม่ได้ อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องฝึกฝนคือ ต้องรู้หมดทุกอย่างในการจัดการองค์กร ทั้งด้านบัญชี บริหารบุคคล หรือการตลาด อาจจะต้องใช้เวลาเก็บเกี่ยวประสบการณ์สักพัก แต่ถ้าอายุเยอะแล้วจะท้อง่ายเมื่อเจออุปสรรค


สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การรักษาเครดิตทางการค้าและการเงิน เพราะธุรกรรมทุกอย่างถูกควบคุมด้วยเครดิตบูโร วันนี้ทุกคนต้องหมั่นฝึกฝนตนเองให้มีศักยภาพสูงขึ้น เพราะการเปิด AEC จะมีการแข่งขันจากภายนอกเข้ามามาก แล้วคนทางตะวันตกใช้เงินดอลล่าร์หรือเงินยูโรซึ่งมีค่าเงินสูงกว่าเงินบาทมาก คนไทยก็จะเหนื่อยขึ้นกว่าที่เป็นอยู่นี้แน่นอน จะรอดได้ต้องทำงานหนักแบบ Smart Working อยากเห็นคนไทยออกไปลงทุนภายนอกกันให้มากขึ้น



ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 939.09 KB)