โอกาสจากความเชื่อมโยงเศรษฐกิจไทย-AEC
โดย ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
มุมมอง AEC ค่อนข้างยากขึ้นเพราะส่งผลกระทบถึงระดับล่างแล้ว แต่สำหรับคนรุ่นใหม่จะมีอิสระในการใช้ชีวิตค่อนข้างมาก หลายคนอยากเห็นโอกาสใหม่ๆ ในช่วงทศวรรษหน้า ด้านการค้าการลงทุนของไทยในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ดังนั้นจึงต้องมาเปิดมุมมองให้ตรงกันก่อนว่า
- นิยามคำว่า AEC คืออะไร มีที่มาอย่างไร สาระสำคัญอยู่ตรงไหน
- โอกาสของการแลกเปลี่ยนอยู่ตรงไหน
- คนที่คุม AEC เน้นเรื่องอะไร
- มีความเชื่อมโยงทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม
กระบวนการดังกล่าวเริ่มต้นมาจากเมื่อ 48 ปีที่แล้ว มีการรวมกลุ่มประเทศเป็น ASEAN (ค.ศ.1976) แล้วพัฒนาก้าวสู่ AEC (31 ธันวาคม 2015) ที่มาของการเกิดอาเซียนคือ การรวมตัวกันเพื่อต่อต้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนที่แผ่อิทธิพลเติบโตเข้ามาในภูมิภาคแถบนี้ ทำให้สามารถดึงการลงทุนที่เคยมุ่งไปยังประเทศจีน เพื่อให้มีส่วนแบ่งมาสู่ตลาดอาเซียนได้ด้วย เกิดเป็น China+1
นับจากอาเซียนมา มีการลดภาษีลงมาเรื่อยๆ เริ่มจาก PTA, AFTA, AFAS, ASEAN Vision 2020, AIA พอมาถึงปี 2007 แล้วมาทำปฏิญญาเซบู เกิดข้อตกลงภายใต้ ‘กฎบัตรอาเซียน’ (ASEAN Charter) เป็น ASEAN Community ในปี 2015 มี 3 เสาหลัก ได้แก่ ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
เพราะฉะนั้นอาเซียนที่กำลังจะก้าวไป ซึ่งแกนด้านเศรษฐกิจคือ AEC จะเดินเต็มที่ตั้งแต่ปลายปี 2015 มีการเปิดเสรีบริการ (AFAS) และการเปิดเสรีการลงทุน (ACIA) ซึ่ง ACIA จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหลัก โดยเป็นการเปิดเสรีด้านการลงทุนที่ครอบคลุมมากกว่า AIA คือ การเปิดเสรีแรงงานและการเปิดเสรีเงินทุนมากขึ้น การก้าวสู่ AEC จึงเป็นการรวมตัวของกลุ่มประเทศอาเซียนให้กลายเป็นตลาดเดียวกัน เพื่อเสริมศักยภาพแข่งขันได้ และยืนหยัดอย่างเท่าเทียม จนสามารถสู้กับเศรษฐกิจระดับโลกได้
เรื่องที่เน้นอีกด้านคือ ด้านสังคม จะเกิดการสร้างค่านิยมใหม่ร่วมกัน การรวมตัวกันด้านเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อสังคมมากขึ้น ประเทศไทยแข็งแกร่งกว่าประเทศอื่น ก็มีโอกาสด้านการลงทุนได้มากกว่าประเทศอื่น กระทบจะเกิดขึ้นทั้งในระดับธุรกิจใหญ่และเอสเอ็มอี ในแง่พื้นที่จะกระทบครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯและชนบททุกเมืองไปพร้อมกัน ส่วนด้านความมั่นคงนั้น อาเซียนยังต้องเผชิญกับภัยด้านความมั่นคง โดยเฉพาะในเรื่องนิวเคลียร์
ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 939.09 KB)