-
สงสัยใคร่รู้อยู่เสมอ สมองทุกสมองถูกสร้างมาเพื่อเรียนรู้ หากสมองถูกกระตุ้นด้วยสิ่งที่สมองสนใจ และมีความหมายต่อตนเอง สมองจะกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ และค้นหาคำตอบสิ่งที่ต้องการรู้อยู่ตลอดเวลา
-
ชอบความท้าทาย ข้อมูลที่กระตุ้นให้สมองสนใจจะต้องมีความท้าทายในระดับที่สมองพอใจ เพราะสมองชอบความสำเร็จ ปัญหาที่ง่ายเกินไปจะไม่กระตุ้นให้เกิดการคิด เพราะสมองสามารถใช้วงจรเดิมๆ ในการแก้ปัญหา แต่ถ้ายากขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง สมองจะพยายามเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่เข้ากับข้อมูลใหม่ และเติมเต็มส่วนที่ขาดหายด้วยจินตนาการ และสิ่งที่ดึงขึ้นมาจากจิตใต้สำนึก
-
ปรารถนาสิ่งที่ดีขึ้น รางวัลที่สมองต้องการคือ การแก้ปัญหาได้สำเร็จ ความสำเร็จในแต่ละขั้นจะเป็นสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้สมองยิ่งต้องการประสบความสำเร็จในขั้นต่อไป
-
เชื่อว่าแทบทุกปัญหามีคำตอบ สมองถูกขับเคลื่อนด้วยวัตถุประสงค์และอารมณ์ด้านบวก
-
ชะลอคำตัดสินและคำวิจารณ์ สมองตีความคำตัดสินและคำวิจารณ์เป็นการคุกคาม ทำให้ความคิดสะดุด อารมณ์ด้านลบผลักดันสมองไปสู่การ "หนี" มากกว่า "สู้"
-
เห็นสิ่งดีในสิ่งไม่ดี สมองที่ไม่ถูกสกัดกั้นหรือคุกคามจะสามารถมองเห็นจุดบกพร่องของผลงานหรือข้อมูลที่ขาดหายไปและปรับแต่งให้กลายเป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิมได้
-
เชื่อว่าปัญหาคือที่มาของปัญญา เมื่อสมองสามารถเอาชนะปัญหาได้ สมองจะจดจำ pathwayการแก้ปัญหานั้นไว้ในความทรงจำ และเมื่อเจอปัญหาที่คล้ายคลึงกัน สมองจะสามารถดึงข้อมูลเดิมมาใช้ในการแก้ปัญหาได้รวดเร็วกว่าครั้งแรก ทุกครั้งที่แก้ปัญหาได้ สมองจึงฉลาดขึ้น
-
เชื่อว่าปัญหาที่เราเผชิญอาจเป็นคำตอบของปัญหาอื่นๆ ข้อมูลที่ได้จากการแก้ปัญหาแต่ละครั้งจะถูกเก็บไว้ในความทรงจำ เมื่อพบเจอปัญหาที่คล้ายคลึงกันหรือซ้อนทับกันบางส่วน สมองจะพยายามเรียกข้อมูลมาจากหลายๆ วงจร และเชื่อมเป็นวงจรใหม่ ดังนั้น สมองที่ผ่านการแก้ปัญหาหลายรูปแบบ จะมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหามากกว่าสมองที่อยู่กับการแก้ปัญหาแบบเดิมซ้ำ ๆ
-
พร้อมยอมรับและเผชิญปัญหา สมองที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาจะชอบแก้ปัญหาที่ท้าทายยิ่งขึ้น บางสมองถึงกับวิ่งเข้าหาปัญหาอยู่ตลอดเวลา