OKMD กระตุกต่อมคิด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ - Opportunity for All
กระตุกต่อมคิด เพื่อพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา

“เล่น เห็น โลก: ท้าทายอนาคต สร้างโอกาสใหม่ให้ประเทศ”

3519
“เล่น เห็น โลก: ท้าทายอนาคต สร้างโอกาสใหม่ให้ประเทศ”
เอสโตเนียเป็นประเทศเล็กๆ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปยุโรป ด้วยทรัพยากรที่จํากัดในทุกด้าน เพราะเอสโตเนียเสมือนประเทศเกิดใหม่ที่เพิ่งได้รับอิสรภาพจากสหภาพโซเวียตเมื่อปี ค.ศ.1991 เอสโตเนีย ริเริ่มจึง “เล่น สร้าง เมือง” ด้วยการใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเป็นเรือธงในการบริหารประเทศ
 
เอสโตเนียเป็นประเทศแรกที่ประกาศให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนขั้น พื้นฐาน และเป็นชาติที่มีธุรกิจStart-up มากที่สุดในโลก คือมี Start-up จํานวน 1.3 ล้านธุรกิจ เท่ากับจํานวน ประชากร 1.3 ล้านคนพอดี
 
“เปิดกว้าง และเรียนรู้โลกตลอดเวลา” คือปรัชญาการ “เล่น สร้าง เมือง” ของเอสโตเนีย และด้วย ความที่เป็นประเทศเล็ก จึงเปิดให้ทุกคนในโลกสมัครเป็น e-Residency หรือ “พลเมืองดิจิทัล” ของเอสโตเนีย โดย “ใครก็ได้” ก็สามารถเข้ามาทําธุรกิจในเอสโตเนียได้ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการ แข่งขัน และช่วยให้เอสโตเนียได้ซึมซับองค์ความรู้ใหม่ๆ
 
Mr. Viljar Lubi เอสโตเนีย ของเขานั้น เป็นประเทศนี้เป็นประเทศที่ได้รับการจับตามองในฐานะประเทศเจ้าแห่งธุรกิจ Strat-up ซึ่งขับเคลื่อนด้วยระบบรัฐบาลดิจิทัล และยังเปิดให้ทุกคนในโลกสมัครเป็น พลเมืองดิจิทัลของเอสโตเนียได้ด้วย

Mr. Viljar Lubi กล่าวว่า ประเทศเอสโตเนีย นําเกมสู่ชีวิตจริง ด้วยการเปิดรับพลเมืองดิจิทัล ผ่านระบบ e-Residency พร้อมออกบัตรประชาชนออนไลน์ให้ใครก็ได้ สําหรับทําธุรกิจ e-Commerce หรือ Start-up ในเอสโตเนีย
 
โดยสามารถเปิดบัญชีกระแสรายวัน และได้สิทธิ์พิเศษทางการค้า ในอนาคตเอสโตเนียจะเปิดสถานทูต ดิจิตอลเพื่อดูแล e-Residency อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
 
ต่อคําถามที่ว่า เหตุใดเอสโตเนียจึงเลือกเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นประเทศดิจิทัล? Mr. Viljar Lubi ตอบ ว่าในปี ค.ศ.1991 เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย เอสโตเนียจึงได้รับอิสรภาพ ตอนนั้น เราเหมือนประเทศเกิดใหม่ในทันที เพราะเราได้กลายเป็นประเทศอิสระจากสหภาพโซเวียต
 
ในตอนนั้น ด้วยทรัพยากรที่จํากัดในทุกด้าน โดยเฉพาะจํานวนประชากร รัฐบาลเอสโตเนียในขณะนั้น จึงต้องเร่งคิดหาทางออกในการขับเคลื่อนประเทศ
 
สอดคล้องกับยุคสมัยในห้วงเวลานั้น ที่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตกําลังได้รับความนิยม ในช่วงต้นทศวรรษ ที่ 1990  อินเทอร์เน็ต และ e-society จึงกลายมาเป็นคําตอบของรัฐบาลเอสโตเนียในตอนนั้น
 
เพราะทุกคนที่นี่ เล็งเห็นแล้วว่า อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางที่จะขับเคลื่อนประเทศได้เร็วที่สุด เพราะนั่น คือ โลกเสมือน หรือ Virtual World
 
Mr. Viljar Lubi กล่าวต่อไปว่า เพราะการที่ประเทศต้องนับหนึ่งใหม่ หรือ Set Zero จึงมีความจําเป็นต้อง Clear Cut หรือ Reboot ระบบทุกอย่าง ตั้งแต่ระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นวัตกรรม และอินเทอร์เน็ต จึงเป็นช่องทางที่เร็วที่สุดในการพัฒนาด้านต่างๆ ในฐานะเครื่องมือสําคัญที่จะเชื่อมโยงระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชนในประเทศเล็กๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ประเทศเกิดใหม่ เฉกเช่นเดียวกับประเทศเอสโตเนียในห้วงเวลาดังกล่าว

ด้วยความตั้งใจพัฒนาประเทศให้เป็น Digital Country เอสโตเนียเริ่มต้นด้วยการปล่อยสัญญาณ Wi-fi หรือการอนุญาตให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะเด็กๆ และเยาวชนในสถานศึกษาทั่วประเทศ

ด้วยการเปิดกว้างให้นักเรียนทุกคนของเอสโตเนีย สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้จากโรงเรียนทุกแห่ง พร้อมกับสอนเด็กให้รู้จักการเขียนโปรแกรมได้ตั้งแต่ป. 1

โดยเฉพาะในปี ค.ศ.2000 หรือ 10 ปี หลังจากการเป็นประเทศเกิดใหม่ เอสโตเนียเป็นชาติที่ประกาศให้ประชากรและผู้อยู่อาศัยในเอสโตเนีย ใช้ e-ID ทําธุรกรรมแทบทุกอย่างผ่านช่องทางออนไลน์ ตั้งแต่ระบบสาธารณสุขไปจนถึงระบบการเมืองการปกครอง

อันนําไปสู่การเป็นประเทศที่มีจํานวน start up ต่อหัวมากที่สุดในโลกดังได้กล่าวไป โดยสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นรูปธรรมที่รัฐบาลใช้สร้างความเชื่อมั่นและความไว้ใจกับประชาชน คือการนําเทคโนโลยีอย่าง Blockchain มา ใช้เพื่อเป็นเครื่องมือรับรองความปลอดภัยของข้อมูล

Mr. Viljar Lubi ได้ทิ้งท้ายแนวคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับ นโยบาย e-Estonia ไว้ 4 ประการ กล่าวคือ

1. ต้องก้าวข้ามความเป็นไปไม่ได้ เพราะใครๆ ก็คิดว่าเอสโตเนียเป็นประเทศเล็กๆ ซึ่งอยู่ห่างจากตลาดโลกและเริ่มทุกอย่างที่ศูนย์ ทว่า กลับสามารถสร้างสรรค์สภาพแวดล้อม โครงสร้างทางเศรษฐกิจได้ในระดับโลก จูงใจให้คนในประเทศ ก้าวออกมาเป็นเจ้าของกิจการควบคู่ไปกับการดึงนักลงทุนต่างชาติให้เข้าไปลงทุนด้วยระบบภาษีและระบบการปกครองที่ไม่ซับซ้อน โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ

2. อย่าคิดถึงแต่อุปสรรค เพราะปัญหาต่างๆ สามารถแก้ไขได้ด้วยความรู้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ต้องปฏิรูปวิธี

3. จงคิดนอกกรอบ สิ่งที่ทําให้เอสโตเนียเป็นเอสโตเนีย ในวันนี้ หาได้เกิดจากการลอกเลียนแบบแนวคิดหรือนโยบายจากใคร แม้หลายคนอาจจะรู้สึกว่าการลอกเลียน หรือขโมยไอเดียที่มีอยู่แล้วและพิสูจน์แล้วว่าประสบความสําเร็จนั้น อาจจะทําให้ประเทศหรือองค์เติบโตได้อย่างรวดเร็ว 

ทว่า เอสโตเนียกลับมองว่า แนวคิดแบบนั้นไม่เป็นผลดีสําหรับประเทศที่มาทีหลัง ซึ่งอยากเติบโตแบบ ก้าวกระโดด   เพราะในทางกลับกันนั้น ความเชื่อมั่นในตนเองในแง่การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ หรือการสร้างนวัตกรรมบนพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของตนต่างหาก ที่จะทําให้การขับเคลื่อนประเทศเดินไปได้

4. จงอย่าหยุดพัฒนา...ทุกๆ คนบนโลกนี้จะต้อง เปิดกว้างและเรียนรู้โลกตลอดเวลา โดยไม่คิดว่าเราแก่หรือล้าสมัย

เพราะโลกทุกวันนี้สู้กันด้วยความรู้ 

ความรู้คือสิ่งขับเคลื่อนทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เราทุกคนจําเป็นต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และต้องพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่เสมอนั่นเอง




บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

มันส์สมอง | Let’s play with knowledge
2876
เล่นให้โดน : ถอดรหัสกลเม็ดสู่ความสำเร็จสร้างคอนเทนต์ให้โดนใจคนไทย
2761
เล่นเป็นเรียน : เรียนให้ต่าง เล่นให้ได้ความรู้
5790
เล่นจนได้ดี : กล้าเดินตามฝัน ลงมือทำในสิ่งที่คนอื่นได้แต่คิด
3936
เล่น ลอง เรียน : ถอดรหัส "ห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ 21"
5133
มันส์สมอง | พื้นที่แห่งความรู้ในศตวรรษที่ 21
2937
สร้างโอกาสใหม่จากวัฒนธรรมของโลกที่ไร้ขอบเขต โดย เชฟเอียน พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย
4957
รู้ทันโลกเทคโนโลยี พลิกธุรกิจรับโอกาสใหม่ โดย ไผท ผดุงถิ่น
6453
ทักษะการสื่อสารและการตลาดที่จะพาเราไปตลาดโลก โดย สุรชัย พุฒิกุลางกูร
3460