OKMD จับมือ มธ. จัดเสวนา From Learn Lab to Dream Lab : เมื่อ AI เปลี่ยนพื้นที่เรียนรู้สู่พื้นที่สร้างฝัน

15 มีนาคม 2568 มิวเซียมสยาม กรุงเทพมหานคร - สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงาน “Learn Lab Expo 2025: Creativity Beyond AI3” ซึ่งดำเนินการภายใต้โครงการ LEARN LAB 2024: Mega Trend Meta Learning สานต่อการสร้างพื้นที่แห่งการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้และทักษะใหม่ๆ ในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเปลี่ยนแปลงโลกอย่างรวดเร็ว โดยภายในงานได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 โซนหลัก ได้แก่ โซน Inspiration (9 บูทกิจกรรมสาย AI), โซน Imagination (AI Garden - การแสดงดนตรีสด) และโซน Innovation
“ผมคิดว่าปัจจัยสำคัญมีอยู่ 3 ข้อ ข้อแรกคือ เราต้องทำในสิ่งที่คิดว่าเรารักจริง ๆ เรามีความถนัด มีแรงบันดาลใจที่จะทำมันให้สำเร็จให้ได้ สอง ต้องมั่นใจว่าสิ่งที่เราทำคือสิ่งที่ตลาดต้องการ ยังไม่มีใครทำได้ในระยะสั้น ๆ เราก็จะสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากตรงนี้ได้ ก่อนที่ความต้องการจะเปลี่ยนไปตามเทรนด์และกาลเวลา และสาม นอกจากสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่รัก ชอบ และตรงกับความต้องการของตลาดแล้ว จะต้องเป็นสิ่งที่เราคิดว่าเรามีศักยภาพที่จะทำได้ หากไม่มีความพร้อม ไม่มีเครือข่าย ไม่มีทีม ก็อาจเป็นปัญหาได้
แต่ท้ายที่สุด ทุกอย่างจะนำไปสู่การสร้างคุณค่าให้กับงาน ซึ่งคุณค่าของสิ่งที่นำเอา AI มาใช้ให้เกิดเป็นสินค้าหรือบริการ อาจเรียกได้ว่าเป็น Better Value คือการปรับปรุงพัฒนาสิ่งเดิมที่ทำอยู่ให้ดียิ่งขึ้น ให้มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์มากขึ้น แต่อาจจะยังไม่ทำให้เกิด Breakthrough สิ่งที่จะทำให้เกิด Breakthrough ได้ ผมเรียกมันว่า New Value
ไม่ว่าคุณจะสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ บริการใหม่ ๆ หรือโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ หากว่านั่นคือสิ่งที่ยังไม่เคยมีใครนำ AI มาปรับใช้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิด Breakthrough เพราะจะเป็นงานที่ไม่ซ้ำกับใคร ก้าวหน้าไปก่อนใคร และเป็นสิ่งที่จะเพิ่มความต้องการของตลาดในอนาคต”
“ผมคิดว่าปัจจัยสำคัญมีอยู่ 3 ข้อ ข้อแรกคือ เราต้องทำในสิ่งที่คิดว่าเรารักจริง ๆ เรามีความถนัด มีแรงบันดาลใจที่จะทำมันให้สำเร็จให้ได้ สอง ต้องมั่นใจว่าสิ่งที่เราทำคือสิ่งที่ตลาดต้องการ ยังไม่มีใครทำได้ในระยะสั้น ๆ เราก็จะสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากตรงนี้ได้ ก่อนที่ความต้องการจะเปลี่ยนไปตามเทรนด์และกาลเวลา และสาม นอกจากสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่รัก ชอบ และตรงกับความต้องการของตลาดแล้ว จะต้องเป็นสิ่งที่เราคิดว่าเรามีศักยภาพที่จะทำได้ หากไม่มีความพร้อม ไม่มีเครือข่าย ไม่มีทีม ก็อาจเป็นปัญหาได้
แต่ท้ายที่สุด ทุกอย่างจะนำไปสู่การสร้างคุณค่าให้กับงาน ซึ่งคุณค่าของสิ่งที่นำเอา AI มาใช้ให้เกิดเป็นสินค้าหรือบริการ อาจเรียกได้ว่าเป็น Better Value คือการปรับปรุงพัฒนาสิ่งเดิมที่ทำอยู่ให้ดียิ่งขึ้น ให้มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์มากขึ้น แต่อาจจะยังไม่ทำให้เกิด Breakthrough สิ่งที่จะทำให้เกิด Breakthrough ได้ ผมเรียกมันว่า New Value
ไม่ว่าคุณจะสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ บริการใหม่ ๆ หรือโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ หากว่านั่นคือสิ่งที่ยังไม่เคยมีใครนำ AI มาปรับใช้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิด Breakthrough เพราะจะเป็นงานที่ไม่ซ้ำกับใคร ก้าวหน้าไปก่อนใคร และเป็นสิ่งที่จะเพิ่มความต้องการของตลาดในอนาคต”
คุณพณัญญา เจริญสวัสดิ์พงศ์ Co-founder จาก Varuna ผู้ประยุกต์นวัตกรรมโดรนในการใช้เพื่อความยั่งยืน
ดร.ณรงค์ บริจินดากุล AI Expert จาก SCB10X
คุณธเนศ จิระเสวกดิลก ผู้ก่อตั้ง divana spa
คุณสามขวัญ ตันสมพงษ์ Co-founder จาก What the Duck