OKMD จับมือ ธรรมศาสตร์ ปั้นโครงการบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้นนวัตกรรมเพื่อสังคมด้านการศึกษา

29 สิงหาคม 2566 ณ TK Park กรุงเทพฯ – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การพัฒนาองค์ความรู้และให้บริการองค์ความรู้ เพื่อยกระดับความสามารถและศักยภาพในการประกอบอาชีพของประชาชน และการดำเนินธุรกิจผู้ประกอบการวิสาหกิจเบื้องต้น ประเดิม “โครงการบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้นนวัตกรรมเพื่อสังคมด้านการศึกษา (LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program)” พร้อมระดมกูรูผู้เชี่ยวชาญในระบบนิเวศการศึกษาและเทคโนโลยีการศึกษาที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้กว่า 30 คน และเชื่อมต่อกับนักลงทุน คู่ค้า และลูกค้าที่มีศักยภาพ มุ่งสร้างโอกาสในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการเรียนรู้และการศึกษาไทยก้าวสู่ตลาดโลก
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือ okmd กล่าวว่า “การร่วมมือกันในครั้งนี้เป็นความมุ่งมั่นของทั้งสองหน่วยงานที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนานวัตกรรม และให้บริการความรู้ ยังเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืนพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และทักษะแห่งอนาคต ตลอดจนส่งมอบประสบการณ์และการบูรณาการจุดเด่น ความถนัด และความเชี่ยวชาญของทั้งสองหน่วยงาน ผ่านการจัดกิจกรรมเพื่อยกระดับการเรียนรู้ และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในกาพัฒนาตนเองการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทุนมนุษย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับชาติ และนานาชาติ”
“มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ OKMD จึงร่วมกันจัดทำ LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น หรือสตาร์ทอัพ ที่พัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม ด้านการเรียนรู้ และการศึกษา และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการนวัตกรรมด้านการศึกษาได้พัฒนาศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ สามารถค้นหาทางแก้ปัญหาธุรกิจให้ตอบโจทย์และเข้าสู่ตลาดได้ ที่สำคัญสามารถแก้ไขปัญหาการศึกษาให้กับประเทศไทย รวมทั้งทำให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ และแนวคิดเชิงนวัตกรรมด้านการศึกษาอีกด้วย”
LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program จะเริ่มบ่มเพาะธุรกิจด้านการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2566 ถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ในรูปแบบของ 1) Training & Workshop เพื่อพัฒนาธุรกิจ ด้านต่างๆ รวมถึงการเพิ่มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ในการพัฒนาธุรกิจด้านการศึกษาของตนเอง โดยในกระบวนการจะมี Workshop จากวิทยากรทั้งด้านการศึกษา และด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง 2) Education Experts เพื่อเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญในด้านการศึกษาที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของครู นักเรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ในระบบนิเวศการศึกษา และ 3) Community Activities เพื่อเชื่อมต่อกับนักลงทุน คู่ค้า และลูกค้าที่มีศักยภาพ ช่วยผู้ประกอบการสร้างความสัมพันธ์และทำให้ธุรกิจเติบโต
โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวนกว่า 100 ทีม จาก 237 คน และผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน 20 ทีม (76 คน) โดยจะได้รับการบ่มเพาะทางด้านธุรกิจ เทคโนโลยี และเปิดมุมมองทางด้านการศึกษาอย่างเข้มข้น จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ และนักลงทุนกว่า 30 คน อาทิ รศ.ดร.พิภพ อุดร, ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) คุณวรุตม์ นิมิตยนต์ (Co-Founder, Deschooling Game) คุณโตมร ศุขปรีชา (OKMD) และมีเงินรางวัลรวมกว่า 2 แสนบาท
รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “การร่วมมือกันจัด LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program ขึ้นในครั้งนี้ เราคาดหวังว่า จะเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เปิดโอกาสให้กับประชาชนคนไทยทุกคนได้เข้าถึงความรู้อย่างกว้างขวางและรอบด้าน ด้วยโอกาสในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการเรียนรู้และการศึกษาให้กับประเทศไทย โดยการสร้างและส่งเสริมระบบนิเวศของสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และการศึกษาในสังคมให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งการบ่มเพาะผู้ประกอบการทุกคนที่ต้องการสร้างไอเดียจากศูนย์สู่ความสำเร็จ และพัฒนานวัตกรรมใหม่ให้กับประเทศไทย ภายใต้พันธกิจหลักของเราคือ การเป็นแพลตฟอร์มการสร้าง และส่งเสริมสตาร์ทอัพประเทศไทยให้ก้าวไกลไประดับโลก การเป็นพื้นที่แห่งโอกาสให้กับคนทุกคนที่ไม่แบ่งแยกด้วยเพศ วัย อาชีพ ศาสนาหรือการเมือง เยาวชนคนรุ่นใหม่ตั้งแต่นักเรียนในระดับมัธยม ไปจนถึงนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไป ที่ให้ได้รับการสนับสนุนต่อยอดไอเดียธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม และมีศักยภาพในการนำออกสู่ตลาดในระดับนานาชาติต่อไป”
88 SANDBOX ภายใต้การดูแลของฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงร่วมกับ OKMD จัด พิธีเปิด โครงการบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้นนวัตกรรมเพื่อสังคมด้านการศึกษา (LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program) ในวันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2566 ณ TK Park ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ภายในงานมีกิจกรรมการร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์กลางการเรียนรู้ของประเทศระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ OKMD และการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์มากมาย ดังนี้
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือ okmd กล่าวว่า “การร่วมมือกันในครั้งนี้เป็นความมุ่งมั่นของทั้งสองหน่วยงานที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนานวัตกรรม และให้บริการความรู้ ยังเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืนพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และทักษะแห่งอนาคต ตลอดจนส่งมอบประสบการณ์และการบูรณาการจุดเด่น ความถนัด และความเชี่ยวชาญของทั้งสองหน่วยงาน ผ่านการจัดกิจกรรมเพื่อยกระดับการเรียนรู้ และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในกาพัฒนาตนเองการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทุนมนุษย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับชาติ และนานาชาติ”
“มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ OKMD จึงร่วมกันจัดทำ LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น หรือสตาร์ทอัพ ที่พัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม ด้านการเรียนรู้ และการศึกษา และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการนวัตกรรมด้านการศึกษาได้พัฒนาศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ สามารถค้นหาทางแก้ปัญหาธุรกิจให้ตอบโจทย์และเข้าสู่ตลาดได้ ที่สำคัญสามารถแก้ไขปัญหาการศึกษาให้กับประเทศไทย รวมทั้งทำให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ และแนวคิดเชิงนวัตกรรมด้านการศึกษาอีกด้วย”
LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program จะเริ่มบ่มเพาะธุรกิจด้านการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2566 ถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ในรูปแบบของ 1) Training & Workshop เพื่อพัฒนาธุรกิจ ด้านต่างๆ รวมถึงการเพิ่มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ในการพัฒนาธุรกิจด้านการศึกษาของตนเอง โดยในกระบวนการจะมี Workshop จากวิทยากรทั้งด้านการศึกษา และด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง 2) Education Experts เพื่อเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญในด้านการศึกษาที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของครู นักเรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ในระบบนิเวศการศึกษา และ 3) Community Activities เพื่อเชื่อมต่อกับนักลงทุน คู่ค้า และลูกค้าที่มีศักยภาพ ช่วยผู้ประกอบการสร้างความสัมพันธ์และทำให้ธุรกิจเติบโต
โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวนกว่า 100 ทีม จาก 237 คน และผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน 20 ทีม (76 คน) โดยจะได้รับการบ่มเพาะทางด้านธุรกิจ เทคโนโลยี และเปิดมุมมองทางด้านการศึกษาอย่างเข้มข้น จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ และนักลงทุนกว่า 30 คน อาทิ รศ.ดร.พิภพ อุดร, ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) คุณวรุตม์ นิมิตยนต์ (Co-Founder, Deschooling Game) คุณโตมร ศุขปรีชา (OKMD) และมีเงินรางวัลรวมกว่า 2 แสนบาท
รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “การร่วมมือกันจัด LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program ขึ้นในครั้งนี้ เราคาดหวังว่า จะเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เปิดโอกาสให้กับประชาชนคนไทยทุกคนได้เข้าถึงความรู้อย่างกว้างขวางและรอบด้าน ด้วยโอกาสในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการเรียนรู้และการศึกษาให้กับประเทศไทย โดยการสร้างและส่งเสริมระบบนิเวศของสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และการศึกษาในสังคมให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งการบ่มเพาะผู้ประกอบการทุกคนที่ต้องการสร้างไอเดียจากศูนย์สู่ความสำเร็จ และพัฒนานวัตกรรมใหม่ให้กับประเทศไทย ภายใต้พันธกิจหลักของเราคือ การเป็นแพลตฟอร์มการสร้าง และส่งเสริมสตาร์ทอัพประเทศไทยให้ก้าวไกลไประดับโลก การเป็นพื้นที่แห่งโอกาสให้กับคนทุกคนที่ไม่แบ่งแยกด้วยเพศ วัย อาชีพ ศาสนาหรือการเมือง เยาวชนคนรุ่นใหม่ตั้งแต่นักเรียนในระดับมัธยม ไปจนถึงนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไป ที่ให้ได้รับการสนับสนุนต่อยอดไอเดียธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม และมีศักยภาพในการนำออกสู่ตลาดในระดับนานาชาติต่อไป”
88 SANDBOX ภายใต้การดูแลของฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงร่วมกับ OKMD จัด พิธีเปิด โครงการบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้นนวัตกรรมเพื่อสังคมด้านการศึกษา (LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program) ในวันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2566 ณ TK Park ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ภายในงานมีกิจกรรมการร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์กลางการเรียนรู้ของประเทศระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ OKMD และการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์มากมาย ดังนี้
- DMii, For Future Education Model
เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านการเสวนา เพื่อบอกเล่าและแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิด ประสบการณ์ ในโมเดลการจัดการเรียนรู้ในยุค “ความรู้อายุสั้น แต่คนอายุยาว” การศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการศึกษาแบบใหม่ ผ่านการทำงาน โดยการถือคติว่า เรียนก่อน ค่อยทำงาน แล้วจึงจะรู้ว่าชอบอะไร กล่าวคือการทำงานเพื่อให้รู้ตัวตนของตนเองก่อน ว่าชอบในการทำงานด้านไหน สิ่งใด แล้วค่อยไปเรียนต่อยอดเอาเฉพาะด้าน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพโดย รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- Learnovation to Learnlab
จากนวัตกรรมการศึกษา สู่พื้นที่แห่งการสร้างโอกาสด้านการศึกษาแห่งอนาคต เป็นโครงการที่ทาง 88 SANDBOX จากมหาลัยธรรมศาสตร์จัดร่วมกับ OKMD โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างกิจกรรมสนับสนุนเหล่า EdTech Startup เพื่อเปิดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์และ solution ให้ตอบโจทย์และเข้าสู่ตลาดได้ อีกทั้งยังเพิ่มมูลค่าและการเติบโตให้เหล่า EdTech Startup ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีและพันธมิตรทางธุรกิจของโครงการ
- 88 Learnovation Program
พื้นที่ผลักดันขีดจำกัดการศึกษาไทย ให้มุ่งสู่ Better Life, Better Society ด้วยโครงการ 88 SANDBOX ภายใต้ความดูแลของฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเป้าหมายในการเป็น Ecosystem บ่มเพาะผู้ประกอบการ และพัฒนานวัตกรรมใหม่ให้กับประเทศไทย ภายใต้พันธกิจหลักคือ ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มการสร้างและส่งเสริมสตาร์ทอัพของประเทศไทยให้ก้าวไกลไปสู่เวทีการแข่งขันระดับโลก ซึ่งที่ผ่านมาทางโครงการได้มีกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาไอเดียธุรกิจของทีมสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการให้เป็นรูปธรรมและมีศักยภาพในการนำออกสู่ตลาดในครั้งนี้ จึงอยากผลักดันด้าน EdTech ให้สามารถนำมาต่อยอด และเป็นอีกหนึ่งทางในการสร้างสรรค์ประเทศ
- Discover the Future of Education
ค้นหา และค้นพบศักยภาพของการศึกษาแห่งอนาคต ไปกับเหล่ากูรูชั้นนำด้านการศึกษาในทุกสายงาน ที่จะพาทุกท่านที่ร่วมฟังเสวนาเปิดมุมมองใหม่ๆ ถึงการศึกษาที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย
- Integrated Education Platform
บูรณาการของ 4 องค์กรนวัตกรรมชั้นนำ เชื่อมโยงการศึกษาเข้ากับนวัตกรรม ที่จะเข้ามาเสริมสร้างการศึกษาให้แข็งแกร่งขึ้น และปิดจุดอ่อนการศึกษาในประเทศไทย
- Innovative Edtech Lab
Lab นอกห้องเรียน ที่พาคุณไปทดลอง และทำจริง กับนวัตกรรมการศึกษาแห่งอนาคต ผ่านผู้เชี่ยวชาญในการทำงานด้านการศึกษาจากทั้ง 3 องค์กรที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทย ทั้ง Conicle และ OpenDurian นอกจากนี้ยังมีการต่อยอดทางการศึกษาด้วยการทำบอร์ดเกมส์อีกด้วย
- Master from Failure
เชี่ยวชาญให้สุด จาก "ความล้มเหลว" แบบเฮียๆ กว่าจะนิ่ง พี่ก็ต้องกลิ้งมาก่อน กว่าจะมาเป็นเฮียวิทย์ หรือคนที่เรียกได้ว่าผ่านมาทุกรูปแบบ ผ่านอะไรมาบ้าง เล่าประสบการณ์แบบเฮียๆ โดย เฮียวิทย์ วิทย์ สิทธิเวคิน