โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ OKMD: OKMD National Knowledge Center
ในโลกปัจจุบันที่ความเป็นเมือง และการแข่งขันทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การให้ความรู้ และทักษะใหม่ๆ แก่ประชาชน ให้สามารถปรับตัวเข้ากับกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาศักยภาพและยกระดับความเป็นอยู่ของคนในเมือง ผ่านกิจกรรมของแหล่งเรียนรู้สาธารณะสมัยใหม่ จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลในทุกประเทศให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาพื้นที่เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พัฒนาศักยภาพ สร้างจินตนาการ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ หรือการจัดกิจกรรมกระตุ้นความสนใจอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ถือเป็นเมืองใหญ่ที่มีการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็วแห่งหนึ่งของโลก หากมองย้อนกลับไปในอดีต จะเห็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการพัฒนาเมืองกรุงเทพให้มีความทันสมัย โดยเฉพาะการสร้างถนนราชดำเนิน ซึ่งเป็นถนนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ สบร. เล็งเห็นความสำคัญและตระหนักถึงคุณค่าของถนนราชดำเนินที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงเห็นควรจัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ OKMD: OKMD National Knowledge Center (Ratchadamnoen Center 1 และ 2) ขึ้น เพื่อพัฒนาถนนสายนี้ ให้เป็นย่านการเรียนรู้สร้างสรรค์ (Creative Learning Center) ที่สำคัญสำหรับประเทศไทย พื้นที่แห่งนี้รายล้อมด้วยหน่วยราชการและสถานศึกษาหลายแห่ง รวมถึงแหล่งเรียนรู้ด้านต่างๆ จำนวนมาก และมีย่านชุมชนที่ยังมีผู้คนอาศัย ประกอบอาชีพ และดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดย สบร. จะทำหน้าที่ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการจัดกิจกรรมและแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการดึงดูดผู้คนและกิจกรรมทางธุรกิจและสังคมให้เข้ามาในพื้นที่ เป็นการฟื้นฟูเกาะรัตนโกสินทร์ ให้กลับมามีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง (Urban Revitalization)
วัตถุประสงค์ของโครงการ
โครงการจัดตั้ง ศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ OKMD: OKMD National Knowledge Center (Ratchadamnoen Center 1 และ 2) ตั้งอยู่บริเวณถนนราชดำเนินกลาง ที่เคยเป็นที่ทำการของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (เดิม) และอาคารอนุรักษ์ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ติดกัน โดยศูนย์การเรียนรู้มีพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งสิ้น 20,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย 4 ส่วนสำคัญได้แก่
ภาพถ่ายทางอากาศที่ตั้งโครงการ
ภาพ Perspectives ของอาคาร Ratchadamnoen Center 1 และ 2 จากมุมด้านข้างของอาคาร
ภาพ Perspectives ของอาคาร Ratchadamnoen Center 1
สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ถือเป็นเมืองใหญ่ที่มีการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็วแห่งหนึ่งของโลก หากมองย้อนกลับไปในอดีต จะเห็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการพัฒนาเมืองกรุงเทพให้มีความทันสมัย โดยเฉพาะการสร้างถนนราชดำเนิน ซึ่งเป็นถนนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ สบร. เล็งเห็นความสำคัญและตระหนักถึงคุณค่าของถนนราชดำเนินที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงเห็นควรจัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ OKMD: OKMD National Knowledge Center (Ratchadamnoen Center 1 และ 2) ขึ้น เพื่อพัฒนาถนนสายนี้ ให้เป็นย่านการเรียนรู้สร้างสรรค์ (Creative Learning Center) ที่สำคัญสำหรับประเทศไทย พื้นที่แห่งนี้รายล้อมด้วยหน่วยราชการและสถานศึกษาหลายแห่ง รวมถึงแหล่งเรียนรู้ด้านต่างๆ จำนวนมาก และมีย่านชุมชนที่ยังมีผู้คนอาศัย ประกอบอาชีพ และดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดย สบร. จะทำหน้าที่ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการจัดกิจกรรมและแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการดึงดูดผู้คนและกิจกรรมทางธุรกิจและสังคมให้เข้ามาในพื้นที่ เป็นการฟื้นฟูเกาะรัตนโกสินทร์ ให้กลับมามีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง (Urban Revitalization)
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อเป็นพื้นที่ที่นำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์/ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย (Thai Wisdoms) โดยการศึกษาและต่อยอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่มีความโดดเด่นด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างคุณค่าทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยคัดสรร รวบรวม และนำเสนอความรู้ ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้มีความน่าสนใจ เข้าใจได้ง่าย สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของคนในแต่ละช่วงวัย และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง เพื่อสืบสานองค์ความรู้ของแผ่นดินให้แก่คนในรุ่นถัดไป
- เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้รูปแบบใหม่สำหรับประชาชนทุกช่วงวัย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ปลูกฝังนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต และส่งเสริมให้เกิดการค้นพบศักยภาพ (Potential Searching) ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและสร้างสรรค์ เพื่อจุดประกายความอยากรู้อยากเห็น อยากคิดอยากลอง และอยากแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ เพื่อค้นหาและพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างไม่หยุดนิ่ง
- เพื่อเป็นพื้นที่พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Meeting Space) ระหว่างผู้คนที่มีความคิด ความชอบ และความสนใจ ทั้งที่เหมือนและแตกต่างกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการและภาคีเครือข่าย รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้/ประสบการณ์ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการแก้ไขปัญหาในทุกระดับ โดยการพัฒนาให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่มีความยืดหยุ่น (Flexible Space) สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ สำหรับคนทุกช่วงวัย ทุกสาขาอาชีพ และทุกช่วงชั้นของสังคม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปลดปล่อยพลังความคิดเชิงสร้างสรรค์และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้
- เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่นำเสนอทักษะแห่งอนาคต (Future Skills) ซึ่งเป็นทักษะความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาและสร้างสรรค์คุณค่า โดยเฉพาะทักษะความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาของโลก ควบคู่กับการพัฒนา Soft Skills อื่นๆ อาทิ ทักษะในการคิดสร้างสรรค์ (Creativity Thinking Skills) ทักษะในการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking Skills) ทักษะในการตัดสินใจ (Decision Making Skills) ทักษะในการเจรจาต่อรอง (Negotiation Skills) ทักษะการทำงานเป็นทีม (Collaborative Skills) และทักษะในการเป็นผู้นำ (Leadership Skills) เป็นต้น โดยการถ่ายทอดผ่านกิจกรรมและหลักสูตรการพัฒนาทักษะความรู้ที่มีความหลากหลาย สร้างสรรค์ เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนรู้
- เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนที่จะเข้ามาในพื้นที่ราชดำเนินมากขึ้น จากการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มและสีม่วง ซึ่งจะช่วยให้การเดินทางเข้าถึงพื้นที่ราชดำเนินมีความสะดวกสบายมากขึ้น การมีพื้นที่เรียนรู้ที่ทันสมัยที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามาพัฒนาทักษะความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ จะดึงดูดให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และท่องเที่ยวในพื้นที่ราชดำเนินมากขึ้น ส่งผลให้ถนนราชดำเนินกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ด้วยบทบาทใหม่ในฐานะพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้ของคนไทยทุกคน
โครงการจัดตั้ง ศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ OKMD: OKMD National Knowledge Center (Ratchadamnoen Center 1 และ 2) ตั้งอยู่บริเวณถนนราชดำเนินกลาง ที่เคยเป็นที่ทำการของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (เดิม) และอาคารอนุรักษ์ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ติดกัน โดยศูนย์การเรียนรู้มีพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งสิ้น 20,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย 4 ส่วนสำคัญได้แก่
- พื้นที่ห้องสมุด (Living Library) เป็นห้องสมุดที่รวบรวมและเชื่อมโยงความรู้ที่จำเป็นจากทั่วทุกมุมโลก พร้อมกิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อส่งเสริมการอ่าน กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และปลูกฝังอุปนิสัยรักการเรียนรู้ ประกอบด้วยพื้นที่ชั้นวางและเก็บหนังสือและ Library of Things พื้นที่บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พื้นที่อ่านหนังสือและห้องประชุมขนาดเล็ก พื้นที่ห้องสมุดเด็ก/พื้นที่ครอบครัว พื้นที่ทำงานอิสระ (Co-working Space) พื้นที่ Interactive Virtual Space (Metaverse) และ e-Sport และพื้นที่เรียนรู้สำหรับผู้บกพร่องทางร่างกาย (Leaning space for people with disabilities)
- พื้นที่เรียนรู้และพัฒนาทักษะ (Learning Space) เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาทักษะแห่งอนาคต เพื่อยกระดับศักยภาพในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง สร้างแรงบันดาลใจ ค้นพบศักยภาพ และสร้างสรรค์นวัตกรรมในหลากหลายรูปแบบ ประกอบด้วยพื้นที่อเนกประสงค์เพื่อการเรียนรู้ พื้นที่ปฏิบัติการทางนวัตกรรม (Fab Lab) พื้นที่ปฏิบัติการด้านงานฝีมือ (Craft and Lifestyle Workshop) พื้นที่ปฏิบัติการด้านสื่อ (Digital Media Center) และพื้นที่ปฏิบัติการสำหรับเด็ก (Kid's Maker Space)
- พื้นที่เพื่อการแสดงออก (Expression Space) ประกอบด้วยพื้นที่อเนกประสงค์และพื้นที่แสดงออกเฉพาะด้าน เพื่อส่งเสริมการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ปลดปล่อยพลังความคิดเชิงบวก ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และจุดประกายความสร้างสรรค์ของคนทุกช่วงวัย ประกอบด้วยหอประชุมอเนกประสงค์ (Auditorium) ขนาด 300-350 ที่นั่ง ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่พักรอของประชาชน เวทีการแสดง พื้นที่รับรองผู้แสดง ห้องเก็บเสื้อผ้าและอุปกรณ์การแสดง ห้องควบคุมแสง-เสียง ห้องจำหน่ายบัตรเข้าชม พื้นที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม และพื้นที่จัดนิทรรศการ
- พื้นที่บริการวิชาการ และพื้นที่สำนักงาน ประกอบด้วยพื้นที่อเนกประสงค์ เพื่อการเรียนรู้ และทดสอบนวัตกรรมด้านการเรียนรู้ และเป็นที่ทำการของทั้ง สบร. ส่วนกลาง และหน่วยงานภายใน ซึ่งได้แก่ สถาบันอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) และบางส่วนของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (NDMI)
ภาพถ่ายทางอากาศที่ตั้งโครงการ
ภาพ Perspectives ของอาคาร Ratchadamnoen Center 1 และ 2 จากมุมด้านข้างของอาคาร
ภาพ Perspectives ของอาคาร Ratchadamnoen Center 1