ผอ. OKMD ร่วมเวที beartai BRIEF on Stage ในหัวข้อ “มหากาพย์พลังงานแพง ปัญหาแก้ไม่ได้ หรือไม่ได้แก้”

3 ตุลาคม 2565, กรุงเทพมหานคร - beartai BRIEF on Stage เปิดเวทีทอล์กครั้งยิ่งใหญ่ ด้วย “มหากาพย์พลังงานแพง ปัญหาแก้ไม่ได้ หรือไม่ได้แก้” โดย 3 กูรูระดับชาติของวงการพลังงานร่วมวิเคราะห์ปัญหาด้านพลังงาน สู่การหาคำตอบและทางออกในการแก้ปัญหามหาภาคได้อย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทย

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน และผู้อำนวยการ OKMD ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทและหน้าที่หลักในการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนผ่านบริการการเรียนรู้สาธารณะในรูปแบบที่ทันสมัย รวมถึงการขยายผลแหล่งเรียนรู้ต้นแบบไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงองค์ความรู้ของประชาชน การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้และการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ๆ ในเรื่องต่างๆ และทำหน้าที่กระตุกต่อมคิดให้สังคมไทยอย่างต่อเนื่อง ผ่านการดำเนินงานของ 2 หน่วยงานภายใน ได้แก่ สถาบันอุทยานการเรียนรู้ เป็นที่รู้จักในชื่อ TK park ห้องสมุดมีชีวิต และสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติที่ดำเนินงาน Museum Siam: Discovery Museum ได้เริ่มต้นกล่าวถึง “วิกฤติพลังงาน” ว่า “วิกฤติพลังงานที่เกิดขึ้นส่งผลต่อเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างกว้างขวางมาก การเมืองระหว่างประเทศก็ส่งผลต่อวิกฤติพลังงาน รัฐบาลได้ตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ทำหน้าที่ชะลอแรงปะทะการขึ้นราคาน้ำมัน”
และได้ฉายภาพเรื่องพลังงานในอดีต ปัจจุบันและอนาคต โดยการตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรให้เราทุกคนพึ่งพาน้ำมันน้อยลง แล้วได้ให้ทางออกว่า ด้วยการยกตัวอย่างว่า เราสามารถหันมาใช้การขนส่งทางราง หรือทางเรือที่มีประสิทธิภาพมากกว่า และประหยัดน้ำมันมากกว่า โดยได้เน้นว่า “หัวใจสำคัญของ Energy transition คือผู้ใช้ เราจะต้องเป็น prosumer คือผู้ผลิต producer บวกผู้บริโภค consumer นี่คือ mindset ของ energy transition ซึ่งเราต้องมี mindset ที่จะกล้าที่จะเปลี่ยน หันมาใช้พลังงานหมุนเวียน เรื่อง energy transition ไม่จำเป็นต้องรอให้รัฐบาลทำ เราเริ่มต้นทำได้เลย เราสามารถที่จะ transition ตัวเอง ในอนาคตจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมา ถ้าเรากล้าลอง กล้าคิด กล้าทำ เราจะหลุดพ้นจากสงครามหรือวิกฤติตรงนี้”

ด้าน ดร.คุรุจิต นาครทรรพ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงเรื่องแนวทางการแก้ปัญหาวิกฤติพลังงานว่า “ถึงยุคที่จะต้องใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น และเปลี่ยนผ่านไปยังพลังงานทดแทน พลังงานสะอาด ethanol กับ biodiesel เราควรส่งเสริม EV (electric vehicle) ต้องใช้จากพลังงานสีเขียว การจัดการขยะ เอาขยะไปหมักแทนไปฝังให้เกิดแก๊สมีเธน พลังงานน้ำก็ใช้ ประเทศเราไม่ควรละเลยที่จะ go nuclear หรือเริ่มใช้พลังงานนิวเคลียร์ อย่างพลังงานไฮโดรเจนมี brown, gray, green, blue เราต้องใช้ green hydrogen เท่านั้น ต้องเลือกสักทาง ดำรงชีวิต แบบ circularity คือ reduce, reuse, recycle ทุกประเทศต้องทำร่วมกัน ไม่ใช่ประเทศเราอย่างเดียว โดยบ้านแต่ละหลังควรมีแบตเตอรี่ติดที่บ้านเอง จะทำให้ carbon footprint ต่ำ การเป็นผู้นำองค์กรก็สามารถเป็นตัวอย่างให้ลูกน้องดูได้ หัวหน้าครอบครัวก็เช่นกัน หากเราทำ สมาชิกครอบครัวจะทำตาม ยิ่งเราเป็นผู้นำองค์กร ให้สร้างตึกประหยัดพลังงาน ทำคุณประโยชน์ให้กับโลกได้ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม นำไปสู่คาร์บอนต่ำ”
ทางด้านนายภาณุรัช ดำรงไทย ที่ปรึกษาทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม บริษัทผู้ผลิตพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศอินโดนีเซีย ได้พูดถึงเทคโนโลยีใหม่ที่มาพร้อมพลังงานใต้พิภพว่า “Geothermal everywhere อยู่ระหว่างพัฒนาระบบ และเห็นด้วยว่า “ประเทศไทยต้องไปพลังงานทดแทน เราต้องเริ่มจริงจังเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพลังงานทางเลือก เนื่องจากประเทศไทยนั้นไม่มีพลังงานทางเลือกแล้ว วิธีการประหยัดค่าไฟให้ถูกลง คือการใช้ให้น้อยลง เพราะถึงเวลาที่เราต้องประหยัดไฟ เนื่องจากประเทศไทยยังคงต้องนำเข้าพลังงานในการผลิต”

ท้ายสุด นายพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ผู้ดำเนินรายการ ได้สรุปถึงแนวทางการแก้ปัญหาพลังงานว่า “เมืองไทยต้องเปลี่ยนได้แล้ว เรื่องวิกฤติน้ำมันแพงไม่ต้องแก้ เราต้องหามุมในการหาพลังงานทางเลือกต่างหาก ถึงจะใช่ เราเสพติดน้ำมันเกินไปอย่างที่ ดร.ทวารัฐกล่าว เราต้องหันมาเสพติดพลังงานสะอาดแทนที่เป็นทางเลือกใหม่ ปลดแอกการพึ่งพาพลังงานในปัจจุบัน”

ติดตามชมการไลฟ์สดย้อนหลังได้ที่ Facebook Fanpage https://www.facebook.com/OKMDInspire , https://www.facebook.com/beartaiBRIEF/ , และ YouTube: beartai BRIEF https://www.youtube.com/c/beartaiBRIEF
ชมคลิปสรุปงานได้ที่ https://bit.ly/3V88TbG
ดูภาพกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3Eit6p4
ขอบคุณภาพจาก beartai Brief

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน และผู้อำนวยการ OKMD ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทและหน้าที่หลักในการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนผ่านบริการการเรียนรู้สาธารณะในรูปแบบที่ทันสมัย รวมถึงการขยายผลแหล่งเรียนรู้ต้นแบบไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงองค์ความรู้ของประชาชน การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้และการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ๆ ในเรื่องต่างๆ และทำหน้าที่กระตุกต่อมคิดให้สังคมไทยอย่างต่อเนื่อง ผ่านการดำเนินงานของ 2 หน่วยงานภายใน ได้แก่ สถาบันอุทยานการเรียนรู้ เป็นที่รู้จักในชื่อ TK park ห้องสมุดมีชีวิต และสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติที่ดำเนินงาน Museum Siam: Discovery Museum ได้เริ่มต้นกล่าวถึง “วิกฤติพลังงาน” ว่า “วิกฤติพลังงานที่เกิดขึ้นส่งผลต่อเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างกว้างขวางมาก การเมืองระหว่างประเทศก็ส่งผลต่อวิกฤติพลังงาน รัฐบาลได้ตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ทำหน้าที่ชะลอแรงปะทะการขึ้นราคาน้ำมัน”
และได้ฉายภาพเรื่องพลังงานในอดีต ปัจจุบันและอนาคต โดยการตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรให้เราทุกคนพึ่งพาน้ำมันน้อยลง แล้วได้ให้ทางออกว่า ด้วยการยกตัวอย่างว่า เราสามารถหันมาใช้การขนส่งทางราง หรือทางเรือที่มีประสิทธิภาพมากกว่า และประหยัดน้ำมันมากกว่า โดยได้เน้นว่า “หัวใจสำคัญของ Energy transition คือผู้ใช้ เราจะต้องเป็น prosumer คือผู้ผลิต producer บวกผู้บริโภค consumer นี่คือ mindset ของ energy transition ซึ่งเราต้องมี mindset ที่จะกล้าที่จะเปลี่ยน หันมาใช้พลังงานหมุนเวียน เรื่อง energy transition ไม่จำเป็นต้องรอให้รัฐบาลทำ เราเริ่มต้นทำได้เลย เราสามารถที่จะ transition ตัวเอง ในอนาคตจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมา ถ้าเรากล้าลอง กล้าคิด กล้าทำ เราจะหลุดพ้นจากสงครามหรือวิกฤติตรงนี้”

ด้าน ดร.คุรุจิต นาครทรรพ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงเรื่องแนวทางการแก้ปัญหาวิกฤติพลังงานว่า “ถึงยุคที่จะต้องใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น และเปลี่ยนผ่านไปยังพลังงานทดแทน พลังงานสะอาด ethanol กับ biodiesel เราควรส่งเสริม EV (electric vehicle) ต้องใช้จากพลังงานสีเขียว การจัดการขยะ เอาขยะไปหมักแทนไปฝังให้เกิดแก๊สมีเธน พลังงานน้ำก็ใช้ ประเทศเราไม่ควรละเลยที่จะ go nuclear หรือเริ่มใช้พลังงานนิวเคลียร์ อย่างพลังงานไฮโดรเจนมี brown, gray, green, blue เราต้องใช้ green hydrogen เท่านั้น ต้องเลือกสักทาง ดำรงชีวิต แบบ circularity คือ reduce, reuse, recycle ทุกประเทศต้องทำร่วมกัน ไม่ใช่ประเทศเราอย่างเดียว โดยบ้านแต่ละหลังควรมีแบตเตอรี่ติดที่บ้านเอง จะทำให้ carbon footprint ต่ำ การเป็นผู้นำองค์กรก็สามารถเป็นตัวอย่างให้ลูกน้องดูได้ หัวหน้าครอบครัวก็เช่นกัน หากเราทำ สมาชิกครอบครัวจะทำตาม ยิ่งเราเป็นผู้นำองค์กร ให้สร้างตึกประหยัดพลังงาน ทำคุณประโยชน์ให้กับโลกได้ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม นำไปสู่คาร์บอนต่ำ”
ทางด้านนายภาณุรัช ดำรงไทย ที่ปรึกษาทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม บริษัทผู้ผลิตพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศอินโดนีเซีย ได้พูดถึงเทคโนโลยีใหม่ที่มาพร้อมพลังงานใต้พิภพว่า “Geothermal everywhere อยู่ระหว่างพัฒนาระบบ และเห็นด้วยว่า “ประเทศไทยต้องไปพลังงานทดแทน เราต้องเริ่มจริงจังเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพลังงานทางเลือก เนื่องจากประเทศไทยนั้นไม่มีพลังงานทางเลือกแล้ว วิธีการประหยัดค่าไฟให้ถูกลง คือการใช้ให้น้อยลง เพราะถึงเวลาที่เราต้องประหยัดไฟ เนื่องจากประเทศไทยยังคงต้องนำเข้าพลังงานในการผลิต”

ท้ายสุด นายพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ผู้ดำเนินรายการ ได้สรุปถึงแนวทางการแก้ปัญหาพลังงานว่า “เมืองไทยต้องเปลี่ยนได้แล้ว เรื่องวิกฤติน้ำมันแพงไม่ต้องแก้ เราต้องหามุมในการหาพลังงานทางเลือกต่างหาก ถึงจะใช่ เราเสพติดน้ำมันเกินไปอย่างที่ ดร.ทวารัฐกล่าว เราต้องหันมาเสพติดพลังงานสะอาดแทนที่เป็นทางเลือกใหม่ ปลดแอกการพึ่งพาพลังงานในปัจจุบัน”

ติดตามชมการไลฟ์สดย้อนหลังได้ที่ Facebook Fanpage https://www.facebook.com/OKMDInspire , https://www.facebook.com/beartaiBRIEF/ , และ YouTube: beartai BRIEF https://www.youtube.com/c/beartaiBRIEF
ชมคลิปสรุปงานได้ที่ https://bit.ly/3V88TbG
ดูภาพกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3Eit6p4
ขอบคุณภาพจาก beartai Brief
ข่าวและกิจกรรมอื่นๆ

ผอ.OKMD เข้าพบ พันเอกสรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในการนำนวัตกรรมด้านดิจิทัลและ AI ไปใช้พัฒนาแหล่งเรียนรู้ของ OKMD