Green City เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบัน เทรนด์เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นกระแสที่ใครๆ ก็ให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน ข้าวของเครื่องใช้ บ้านเรือนที่อยู่อาศัย รถรายานพาหนะ ต่างก็ต้องใส่ใจและพยายามจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะตามมา ซึ่งนอกจากที่ผู้บริโภคจะตระหนักและตื่นตัวต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้นแล้ว แนวทางหรือนโยบายการพัฒนาเมืองก็มีการพูดถึงถึงเรื่องความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน
ในหลายๆ เมืองทั่วโลกได้ดำเนินแนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนความเป็นเมืองให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือ Green city มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศสิงคโปร์ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองที่มีอากาศบริสุทธิ์ น้ำสะอาด และให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ ด้วยการมุ่งพัฒนาให้เป็นเมืองแห่งสวนและเพื่อเพิ่มคุณภาพการใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียว
กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ก็ได้พัฒนาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสวนสาธารณะและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน เช่นเดียวกับ เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ที่ส่งเสริมและใช้พลังงานหมุนเวียนจากน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ในเมืองอีกด้วย นอกจากนี้ ประเทศมหาอำนาจของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และหลายประเทศในสหภาพยุโรป ต่างก็แสดงเจตจำนงเพื่อร่วมมือกันแก้ไขและบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกด้วยเช่นกัน
รู้จัก Green City
Green City หรือ เมืองสีเขียว หรือ เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายถึงเมืองที่ออกแบบโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีประชากรที่ตระหนักและมีจิตสำนึกร่วมกันถึงระบบนิเวศและดำเนินชีวิตบนแนวคิดของความยั่งยืน เพื่อลดการพึ่งพาการใช้ทรัพยากร ทั้งพลังงาน อาหารและน้ำ รวมไปถึงลดการปลดปล่อยของเสียในระบบนิเวศ ทั้งในรูปของความร้อนและมลพิษต่างๆ ซึ่งจะทำให้เป็นเมืองที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเองและไม่จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรจากพื้นที่ภายนอก สามารถสร้างพลังงานได้เองจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ มุ่งเน้นการสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นในพื้นที่เมือง
โดยมีหลักการสำคัญในการลดขนาดรอยเท้านิเวศ (หรือ Ecological footprint หมายถึงผลกระทบของกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์) และลดการปล่อยมลพิษให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ วางแผนการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติ ลดปริมาณของเสียด้วยกระบวนการรีไซเคิลหรือแปลงของเสียเป็นพลังงาน และลดการเป็นสาเหตุของการสร้างสภาวะโลกร้อนในภาพรวม ทั้งนี้ เพื่อให้ประชากรที่อยู่อาศัยในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี
องค์ประกอบของ Green city
กรุงเทพมหานครและศูนย์บริการวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันศึกษาเกณฑ์การชี้วัดความเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของทุกทวีปทั่วโลก พบว่า ในทวีปเอเชียจะพิจารณาองค์ประกอบของการเป็นเมืองสีเขียว ออกเป็นด้านต่างๆ จะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาและใช้ในการนำร่องพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็น Green city ได้ ดังนี้
จะเห็นได้ว่า ในการจะพัฒนาเมืองไปสู่การเป็นเมืองสีเขียวอย่างสมบูรณ์แบบที่จะมีครบองค์ประกอบทั้ง 8 ข้อที่กล่าวมาในข้างต้นนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยากและมีข้อจำกัดอยู่ค่อนข้างมาก แต่อย่างไรก็ตาม หากหลายคนหลายฝ่ายร่วมมือกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเอง ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ พัฒนากันตามกำลังความสามารถ ก็จะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีร่วมกัน และจะเป็นเมืองสีเขียวที่ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพได้
โลกจะเขียวได้ด้วยมือของพวกเราที่ช่วยกัน!!
ที่มาของข้อมูล:
https://zhort.link/gHs
https://www.community.or.th/blog/2020/03/14/green-city/
https://umapupphachai.medium.com/green-cities-10ad6ab581eb
http://thailandsmartcities.blogspot.com/2016/10/green-city.html
https://www.naewna.com/lady/columnist/45050
https://www.prachachat.net/columns/news-250364
https://zhort.link/gHt
https://zhort.link/gHu
https://zhort.link/gHv
ในหลายๆ เมืองทั่วโลกได้ดำเนินแนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนความเป็นเมืองให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือ Green city มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศสิงคโปร์ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองที่มีอากาศบริสุทธิ์ น้ำสะอาด และให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ ด้วยการมุ่งพัฒนาให้เป็นเมืองแห่งสวนและเพื่อเพิ่มคุณภาพการใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียว
กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ก็ได้พัฒนาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสวนสาธารณะและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน เช่นเดียวกับ เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ที่ส่งเสริมและใช้พลังงานหมุนเวียนจากน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ในเมืองอีกด้วย นอกจากนี้ ประเทศมหาอำนาจของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และหลายประเทศในสหภาพยุโรป ต่างก็แสดงเจตจำนงเพื่อร่วมมือกันแก้ไขและบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกด้วยเช่นกัน
รู้จัก Green City
Green City หรือ เมืองสีเขียว หรือ เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายถึงเมืองที่ออกแบบโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีประชากรที่ตระหนักและมีจิตสำนึกร่วมกันถึงระบบนิเวศและดำเนินชีวิตบนแนวคิดของความยั่งยืน เพื่อลดการพึ่งพาการใช้ทรัพยากร ทั้งพลังงาน อาหารและน้ำ รวมไปถึงลดการปลดปล่อยของเสียในระบบนิเวศ ทั้งในรูปของความร้อนและมลพิษต่างๆ ซึ่งจะทำให้เป็นเมืองที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเองและไม่จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรจากพื้นที่ภายนอก สามารถสร้างพลังงานได้เองจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ มุ่งเน้นการสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นในพื้นที่เมือง
โดยมีหลักการสำคัญในการลดขนาดรอยเท้านิเวศ (หรือ Ecological footprint หมายถึงผลกระทบของกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์) และลดการปล่อยมลพิษให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ วางแผนการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติ ลดปริมาณของเสียด้วยกระบวนการรีไซเคิลหรือแปลงของเสียเป็นพลังงาน และลดการเป็นสาเหตุของการสร้างสภาวะโลกร้อนในภาพรวม ทั้งนี้ เพื่อให้ประชากรที่อยู่อาศัยในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี
องค์ประกอบของ Green city
กรุงเทพมหานครและศูนย์บริการวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันศึกษาเกณฑ์การชี้วัดความเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของทุกทวีปทั่วโลก พบว่า ในทวีปเอเชียจะพิจารณาองค์ประกอบของการเป็นเมืองสีเขียว ออกเป็นด้านต่างๆ จะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาและใช้ในการนำร่องพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็น Green city ได้ ดังนี้
- ด้านการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจะมีการคำนวนปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อคน และปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วยผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ
- ด้านการใช้ที่ดินและอาคาร จะคำนวนสัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากร (ตารางเมตรต่อคน) ความหนาแน่นของประชากร (คนต่อตารางเมตร) รวมถึงนโยบายด้านการใช้ประโยชนที่ดินและอาคารเขียว
- ด้านการขนส่งและจราจร จะพิจารณาจากนโยบายการให้บริการรถขนล่งสาธารณะ เครือข่ายการให้บริการรถขนล่งสาธารณะ และนโยบายการลดปัญหาจราจรติดขัด
- ด้านของเสีย จะคำนวณอัตราการเกิดขยะมูลฝอยต่อประชากร (กิโลกรัมต่อคน) สัดส่วนของขยะมูลฝอยที่สามารถเก็บขนได้และได้รับการกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาล นโยบายการลดของเสียใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงนโยบายการเก็บขนและการกำจัดของเสียของเมือง
- ด้านน้ำ จะคำนวณอัตราการใช้น้ำต่อคน (ลิตรต่อคน) สัดส่วนปริมาณน้ำสูญเสียของระบบจ่ายน้ำประปา นโยบายด้านคุณภาพน้ำผิวดินและน้ำดื่ม และนโยบายด้านการจัดการแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน
- ด้านการสุขาภิบาล จะคำนวนสัดส่วนของประชาชนที่เข้าถึงระบบสุขาภิบาล เช่น มีระบบจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลที่ถูกสุขลักษณะ สัดส่วนปริมาณน้ำเสียที่สามารถรวบรวมและบำบัดได้ และนโยบายด้านการสุขาภิบาลของเมือง
- ด้านคุณภาพอากาศ จะคำนวณระดับความเข้มข้นของก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ออกไซด์ อนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) ในอากาศ รวมถึงนโยบายการรักษาคุณภาพอากาศ
- ด้านธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม พิจารณาจากนโยบายและแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อม แนวทางการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม
จะเห็นได้ว่า ในการจะพัฒนาเมืองไปสู่การเป็นเมืองสีเขียวอย่างสมบูรณ์แบบที่จะมีครบองค์ประกอบทั้ง 8 ข้อที่กล่าวมาในข้างต้นนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยากและมีข้อจำกัดอยู่ค่อนข้างมาก แต่อย่างไรก็ตาม หากหลายคนหลายฝ่ายร่วมมือกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเอง ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ พัฒนากันตามกำลังความสามารถ ก็จะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีร่วมกัน และจะเป็นเมืองสีเขียวที่ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพได้
โลกจะเขียวได้ด้วยมือของพวกเราที่ช่วยกัน!!
ที่มาของข้อมูล:
https://zhort.link/gHs
https://www.community.or.th/blog/2020/03/14/green-city/
https://umapupphachai.medium.com/green-cities-10ad6ab581eb
http://thailandsmartcities.blogspot.com/2016/10/green-city.html
https://www.naewna.com/lady/columnist/45050
https://www.prachachat.net/columns/news-250364
https://zhort.link/gHt
https://zhort.link/gHu
https://zhort.link/gHv
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)