งานเสวนา TK FORUM 2025 “Books Without Borders”
20 มีนาคม 2568 | เวลา: 09.00 - 12.30 น.

รู้หรือไม่... ประเทศต่าง ๆ มีเครื่องมืออะไรในการสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านและการพัฒนาหนังสือ ? นอกจากห้องสมุดที่มีคุณภาพแล้ว ยังต้องมีกลไกเชิงสถาบันอะไรอีกบ้างเพื่อส่งเสริมการอ่านและการเข้าถึงหนังสือดี ? ทำอย่างไรให้หนังสือเป็นซอฟต์พาวเวอร์ ? วิธีการใดทำให้ตลาดโลกรู้จักและอยากอ่านอยากซื้อ ? TK FORUM 2025 “Books Without Borders” มีคำตอบ
ขอชวนทุกคนมาเปิดโลกความรู้ด้านนโยบาย สร้างสังคมการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง แกะรอยมาตรการส่งเสริมการอ่านและกลไกการพัฒนาระบบหนังสือ ผ่านประสบการณ์และกรณีศึกษาจากประเทศชั้นนำ เพราะโลกของหนังสือและการอ่าน ไม่มีพรมแดน
รู้จักกับ...
ขอชวนทุกคนมาเปิดโลกความรู้ด้านนโยบาย สร้างสังคมการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง แกะรอยมาตรการส่งเสริมการอ่านและกลไกการพัฒนาระบบหนังสือ ผ่านประสบการณ์และกรณีศึกษาจากประเทศชั้นนำ เพราะโลกของหนังสือและการอ่าน ไม่มีพรมแดน
รู้จักกับ...
- Literature Translation Institute of Korea (LTI) : สถาบันการแปลวรรณกรรม ที่มีบทบาทอย่างสำคัญทำให้วรรณกรรมเกาหลีเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
- Finnish Literature Exchange (FILI) : องค์กรสนับสนุนวรรณกรรม กับการสร้างเครือข่ายสำนักพิมพ์และเอเย่นต์หนังสือ เพื่อผลักดันวรรณกรรมฟินแลนด์สู่ตลาดโลก
- มูลนิธิการอ่าน Stiftung Lesen ของเยอรมนี ที่มีกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในกลุ่มเด็กและเยาวชน เป็นรากฐานวัฒนธรรมการอ่านของประเทศ
- เมือง Exeter ที่ใช้กลไก “เมืองวรรณกรรม” สร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่านเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมหนังสือ
- กฎหมายห้องสมุด ซึ่งเป็นหลักประกันการเข้าถึงความรู้ผ่านห้องสมุดสาธารณะ และเป็นเครื่องมือเสริมแรงให้ห้องสมุดทำงานเพื่อประชาชนอย่างครอบคลุมและมีคุณภาพ