เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024
เปิดฉากความอลังการที่มิวเซียมสยาม
24 ตุลาคม 2567 - 25 กุมภาพันธ์ 2568
สถานที่: มิวเซียมสยาม

เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 เปิดฉากความอลังการอีกครั้ง ภายใต้แนวคิดใหม่ รักษา กายา (Nurture Gaia) โดยมีงานศิลปะร่วมสมัยกว่า 200 ผลงาน จากศิลปินดังของไทยและนานาชาติ
แนวคิดของเทศกาล "รักษา กายา" ได้รับแรงบันดาลใจมาจากชื่อของเทพีกรีกนามว่า ไกอา (Gaia) เป็นหนึ่งในร่างของพระแม่ธรณี ซึ่งเป็นตัวแทนของความเป็นแม่ ผู้ให้กำเนิด และหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต ไกอาถูกกล่าวถึงมาเป็นเวลานานในหลากหลายช่วงเวลาและวัฒนธรรม นอกจากการมีอยู่ในรูปแบบของความลี้ลับหรืออำนาจวิเศษแล้ว ยังได้จุดประกายความเชื่อ ศาสนา แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ และปรัชญาอีกมากมาย BAB 2024 รักษา กายา ผ่านผลงานศิลปะร่วมสมัยจะสะท้อนความหมายที่แตกต่างของ ธรรมชาติ การเลี้ยงดู ความเป็นผู้หญิง และการครุ่นคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยา การเมือง ความเชื่อ และสิ่งเหนือธรรมชาติ (ข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊ก BkkArtBiennale)
ผลงานจะถูกจัดแสดงตามสถานที่สำคัญทั้งย่านใจกลางเมืองและย่านเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร วันแบงค็อก และ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)
ร่วมเป็นสักขีพยานสัมผัสความสร้างสรรค์ของศิลปินมากความสามารถ ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2567 – 25 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องนิทรรศการชั่วคราว 1-3 และลานมิวเซียมสยาม
แนวคิดของเทศกาล "รักษา กายา" ได้รับแรงบันดาลใจมาจากชื่อของเทพีกรีกนามว่า ไกอา (Gaia) เป็นหนึ่งในร่างของพระแม่ธรณี ซึ่งเป็นตัวแทนของความเป็นแม่ ผู้ให้กำเนิด และหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต ไกอาถูกกล่าวถึงมาเป็นเวลานานในหลากหลายช่วงเวลาและวัฒนธรรม นอกจากการมีอยู่ในรูปแบบของความลี้ลับหรืออำนาจวิเศษแล้ว ยังได้จุดประกายความเชื่อ ศาสนา แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ และปรัชญาอีกมากมาย BAB 2024 รักษา กายา ผ่านผลงานศิลปะร่วมสมัยจะสะท้อนความหมายที่แตกต่างของ ธรรมชาติ การเลี้ยงดู ความเป็นผู้หญิง และการครุ่นคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยา การเมือง ความเชื่อ และสิ่งเหนือธรรมชาติ (ข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊ก BkkArtBiennale)
ผลงานจะถูกจัดแสดงตามสถานที่สำคัญทั้งย่านใจกลางเมืองและย่านเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร วันแบงค็อก และ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)
ร่วมเป็นสักขีพยานสัมผัสความสร้างสรรค์ของศิลปินมากความสามารถ ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2567 – 25 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องนิทรรศการชั่วคราว 1-3 และลานมิวเซียมสยาม