OKMD ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้และองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ” ร่วมกับเครือข่ายจังหวัดนครพนม
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 ณ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครพนม ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือ OKMD จับมือกับพันธมิตร ได้แก่ นายธันญ์สุธี ภัคธารีรัตน์ ศึกษาธิการจังหวัดนครพนม นายจีระนนท์ คนหาญ ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครพนม นายบัญชา ศรีชาหลวง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน นายสุวรรณ วงค์ใหญ่ ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล และนายวิทิต เติมผลบุญ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียน ซี วาย เอฟ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้และองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ” เพื่อสร้างต้นแบบในการบริหารจัดการความรู้เพื่อนำองค์ความรู้ไปเป็นทุนในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือ OKMD กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า “การใช้ความรู้จากท้องถิ่น ความรู้จากพื้นที่เดิม ให้สามารถจัดการความรู้สู่การใช้ประโยชน์สำหรับเด็ก เยาวชน และคนในพื้นที่ได้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับการพัฒนาคนและพื้นที่ การร่วมมือครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่เราจะขยายผลองค์ความรู้เพื่อการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ซึ่งจะสร้างประโยชน์ได้”
“MOU จะไม่มีความหมายถ้าไม่นำไปใช้งานอย่างเป็นรูปธรรม เราจึงจะต้องร่วมมือกันให้ MOU นี้ นำไปสู่การปฏิบัติที่แท้จริง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน ซึ่งจะช่วยให้เด็กที่หลุดออกจากระบบกลับเข้ามาเรียนรู้ตามที่เขามีความตั้งใจ มีความสนใจ ซึ่งการร่วมมือนี้ช่วยเด็กและเยาวชนเหล่านี้ได้” นายธันญ์สุธี ภัคธารีรัตน์ ศึกษาธิการจังหวัดนครพนม
“สถานพินิจฯ นครพนม เป็นต้นแบบของสถานพินิจฯ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน โชคดีที่สถานพินิจฯ มีเครือข่ายที่ดีอย่างนี้ ทำให้เด็กและเยาวชนได้โอกาส ได้พัฒนาตนเอง ได้เรียนรู้” นายจีระนนท์ คนหาญ ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครพนม
“วันนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับโครงสร้างทางสังคม เป็นการช่วยดูแลสังคมให้มีความอยู่รอด เราต่างมีเป้าหมายร่วมกัน เราต้องพัฒนาคนทุกช่วงวัย เราต้องช่วยเหลือเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา MOU คือ ความร่วมมือที่เราจะร่วมกันขับเคลื่อนสู่ภาคปฏิบัติซึ่งช่วยพัฒนาคน ขับเคลื่อนโครงสร้าง มันจะทำให้ชุมชนมีเป้าหมายมากขึ้น เราจะขับเคลื่อนไปด้วยกัน ทำมันให้เป็นผลสำเร็จ” นายบัญชา ศรีชาหลวง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
“เราพยายามในสิ่งที่ดีที่สุดให้เด็กเขาได้เรียนด้วยการใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่ เรามีองค์ความรู้อยู่เยอะมาก องค์ความรู้บางอย่างกำลังจะหายไป พวกเราต่างเห็นความสำคัญขององค์ความรู้ จึงช่วยกันส่งเสริมให้นำไปสู่การเรียนรู้ที่จะช่วยให้เด็กนอกระบบได้เรียนรู้ตามความสนใจตามอัธยาศัยของเขา ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ส่งกลับไปสู่คน สู่สังคม สู่ประเทศ” นายวิทิต เติมผลบุญ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียน ซี วาย เอฟ
การพัฒนาครั้งนี้จะมีการทำงานในรูปแบบของการขับเคลื่อนด้วยกระบวนการ (Process-driven) ที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถเกิดการ “ทำซ้ำ” กระบวนการเหล่านี้ในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไปได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ อันจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพของการประกอบอาชีพของประชาชนในท้องถิ่นด้วยการนำภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่าด้วยความรู้ใหม่ ๆ เพื่อให้เป็นองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพแบบครบวงจร (One-stop service) ให้กับประชาชนในท้องถิ่น โดยใช้การบริหารจัดการความรู้เชิงรุก การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความรู้ และการทำงานร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือ OKMD กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า “การใช้ความรู้จากท้องถิ่น ความรู้จากพื้นที่เดิม ให้สามารถจัดการความรู้สู่การใช้ประโยชน์สำหรับเด็ก เยาวชน และคนในพื้นที่ได้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับการพัฒนาคนและพื้นที่ การร่วมมือครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่เราจะขยายผลองค์ความรู้เพื่อการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ซึ่งจะสร้างประโยชน์ได้”
“MOU จะไม่มีความหมายถ้าไม่นำไปใช้งานอย่างเป็นรูปธรรม เราจึงจะต้องร่วมมือกันให้ MOU นี้ นำไปสู่การปฏิบัติที่แท้จริง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน ซึ่งจะช่วยให้เด็กที่หลุดออกจากระบบกลับเข้ามาเรียนรู้ตามที่เขามีความตั้งใจ มีความสนใจ ซึ่งการร่วมมือนี้ช่วยเด็กและเยาวชนเหล่านี้ได้” นายธันญ์สุธี ภัคธารีรัตน์ ศึกษาธิการจังหวัดนครพนม
“สถานพินิจฯ นครพนม เป็นต้นแบบของสถานพินิจฯ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน โชคดีที่สถานพินิจฯ มีเครือข่ายที่ดีอย่างนี้ ทำให้เด็กและเยาวชนได้โอกาส ได้พัฒนาตนเอง ได้เรียนรู้” นายจีระนนท์ คนหาญ ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครพนม
“วันนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับโครงสร้างทางสังคม เป็นการช่วยดูแลสังคมให้มีความอยู่รอด เราต่างมีเป้าหมายร่วมกัน เราต้องพัฒนาคนทุกช่วงวัย เราต้องช่วยเหลือเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา MOU คือ ความร่วมมือที่เราจะร่วมกันขับเคลื่อนสู่ภาคปฏิบัติซึ่งช่วยพัฒนาคน ขับเคลื่อนโครงสร้าง มันจะทำให้ชุมชนมีเป้าหมายมากขึ้น เราจะขับเคลื่อนไปด้วยกัน ทำมันให้เป็นผลสำเร็จ” นายบัญชา ศรีชาหลวง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
“เราพยายามในสิ่งที่ดีที่สุดให้เด็กเขาได้เรียนด้วยการใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่ เรามีองค์ความรู้อยู่เยอะมาก องค์ความรู้บางอย่างกำลังจะหายไป พวกเราต่างเห็นความสำคัญขององค์ความรู้ จึงช่วยกันส่งเสริมให้นำไปสู่การเรียนรู้ที่จะช่วยให้เด็กนอกระบบได้เรียนรู้ตามความสนใจตามอัธยาศัยของเขา ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ส่งกลับไปสู่คน สู่สังคม สู่ประเทศ” นายวิทิต เติมผลบุญ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียน ซี วาย เอฟ
การพัฒนาครั้งนี้จะมีการทำงานในรูปแบบของการขับเคลื่อนด้วยกระบวนการ (Process-driven) ที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถเกิดการ “ทำซ้ำ” กระบวนการเหล่านี้ในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไปได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ อันจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพของการประกอบอาชีพของประชาชนในท้องถิ่นด้วยการนำภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่าด้วยความรู้ใหม่ ๆ เพื่อให้เป็นองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพแบบครบวงจร (One-stop service) ให้กับประชาชนในท้องถิ่น โดยใช้การบริหารจัดการความรู้เชิงรุก การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความรู้ และการทำงานร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง