OKMD ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้และองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ” ร่วมกับเครือข่ายจังหวัดบึงกาฬ
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ณ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือ OKMD จับมือกับพันธมิตร ได้แก่ ว่าที่ร้อยตรี พูนศักดิ์ พระรัตภูมี ศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ นายปรีชา กุมภิโร นายกเทศมนตรีตำบลป่งไฮ และนายวิทิต เติมผลบุญ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียน ซี วาย เอฟ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้และองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ” เพื่อสร้างต้นแบบในการบริหารจัดการความรู้เพื่อนำองค์ความรู้ไปเป็นทุนในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือ OKMD กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า “OKMD มีกระบวนการ มีเครื่องไม้เครื่องมือรูปแบบใหม่ที่จะช่วยพัฒนาจัดการองค์ความรู้ ซึ่งจะร่วมกับเครือข่ายที่ใช้พัฒนาองค์ความรู้สู่การใช้ประโยชน์สำหรับเด็ก เยาวชน คนในท้องถิ่น เราจะทำให้ภารกิจนี้ของพวกเราสำเร็จเป็นงานสำคัญของบึงกาฬได้อีกงานหนึ่ง”
“ผมเห็นว่า OKMD มีระบบที่ดีที่จะไปร่วมใช้ประโยชน์ขับเคลื่อนเป็นโมเดล ที่จะทำให้องค์ความรู้ของชุมชนได้พัฒนาไปใช้ประโยชน์กับคนจำนวนมาก ได้ช่วยเด็กนอกระบบ และองค์ความรู้จะตกทอดไปสู่คนรุ่นลูกหลาน ซึ่งสามารถพัฒนาชุมชนได้อย่างเป็นระบบและเกิดความยั่งยืน ซึ่งความยั่งยืนนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ความร่วมมือนี้จะพัฒนาองค์ความรู้ของท้องถิ่นเราที่จะพัฒนาคนและส่งองค์ความรู้ต่อไป” ว่าที่ร้อยตรี พูนศักดิ์ พระรัตภูมี ศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ
“เราตระหนักตลอดว่าการขับเคลื่อนคนและท้องถิ่นนับเป็นเรื่องที่ดีที่ควรทำ เราจะพัฒนาอะไรก็ตามเราต้องร่วมมือกัน การที่พวกเราเห็นความสำคัญของการพัฒนาครั้งนี้ร่วมกันจึงเป็นสิ่งที่ดี เราจะได้พัฒนาคนให้มีความรู้ เราเห็นความพยามยามของเขาแต่เขาขาดโอกาส เมื่อเขาได้โอกาสจากความร่วมมือของเราครั้งนี้ก็จะทำให้เขาได้พัฒนาตนเองไปได้ไกลขึ้น” นายปรีชา กุมภิโร นายกเทศมนตรีตำบลป่งไฮ
“เรามีความตั้งใจที่ต้องการให้เด็กทุกคนจบการศึกษาภาคบังคับและผมเห็นว่าความตั้งใจของทุกคนสูงมาก เราจึงขอบคุณ OKMD ที่เข้ามาร่วมมือเอาเครื่องมือมาใช้มาร่วมกันพัฒนา ซึ่งจะส่งประโยชน์ให้เด็กนอกระบบได้เรียนรู้ความรู้จากท้องถิ่นตามที่เขาคุ้นเคยตามที่เขาสนใจด้วยการเรียนรู้ตามอัธยาศัยที่จะทำให้เขาได้มีความรู้” นายวิทิต เติมผลบุญ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียน ซี วาย เอฟ
การพัฒนาครั้งนี้จะมีการทำงานในรูปแบบของการขับเคลื่อนด้วยกระบวนการ (Process-driven) ที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถเกิดการ “ทำซ้ำ” กระบวนการเหล่านี้ในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไปได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ อันจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพของการประกอบอาชีพของประชาชนในท้องถิ่นด้วยการนำภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่าด้วยความรู้ใหม่ ๆ เพื่อให้เป็นองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพแบบครบวงจร (One-stop service) ให้กับประชาชนในท้องถิ่น โดยใช้การบริหารจัดการความรู้เชิงรุก การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความรู้ และการทำงานร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือ OKMD กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า “OKMD มีกระบวนการ มีเครื่องไม้เครื่องมือรูปแบบใหม่ที่จะช่วยพัฒนาจัดการองค์ความรู้ ซึ่งจะร่วมกับเครือข่ายที่ใช้พัฒนาองค์ความรู้สู่การใช้ประโยชน์สำหรับเด็ก เยาวชน คนในท้องถิ่น เราจะทำให้ภารกิจนี้ของพวกเราสำเร็จเป็นงานสำคัญของบึงกาฬได้อีกงานหนึ่ง”
“ผมเห็นว่า OKMD มีระบบที่ดีที่จะไปร่วมใช้ประโยชน์ขับเคลื่อนเป็นโมเดล ที่จะทำให้องค์ความรู้ของชุมชนได้พัฒนาไปใช้ประโยชน์กับคนจำนวนมาก ได้ช่วยเด็กนอกระบบ และองค์ความรู้จะตกทอดไปสู่คนรุ่นลูกหลาน ซึ่งสามารถพัฒนาชุมชนได้อย่างเป็นระบบและเกิดความยั่งยืน ซึ่งความยั่งยืนนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ความร่วมมือนี้จะพัฒนาองค์ความรู้ของท้องถิ่นเราที่จะพัฒนาคนและส่งองค์ความรู้ต่อไป” ว่าที่ร้อยตรี พูนศักดิ์ พระรัตภูมี ศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ
“เราตระหนักตลอดว่าการขับเคลื่อนคนและท้องถิ่นนับเป็นเรื่องที่ดีที่ควรทำ เราจะพัฒนาอะไรก็ตามเราต้องร่วมมือกัน การที่พวกเราเห็นความสำคัญของการพัฒนาครั้งนี้ร่วมกันจึงเป็นสิ่งที่ดี เราจะได้พัฒนาคนให้มีความรู้ เราเห็นความพยามยามของเขาแต่เขาขาดโอกาส เมื่อเขาได้โอกาสจากความร่วมมือของเราครั้งนี้ก็จะทำให้เขาได้พัฒนาตนเองไปได้ไกลขึ้น” นายปรีชา กุมภิโร นายกเทศมนตรีตำบลป่งไฮ
“เรามีความตั้งใจที่ต้องการให้เด็กทุกคนจบการศึกษาภาคบังคับและผมเห็นว่าความตั้งใจของทุกคนสูงมาก เราจึงขอบคุณ OKMD ที่เข้ามาร่วมมือเอาเครื่องมือมาใช้มาร่วมกันพัฒนา ซึ่งจะส่งประโยชน์ให้เด็กนอกระบบได้เรียนรู้ความรู้จากท้องถิ่นตามที่เขาคุ้นเคยตามที่เขาสนใจด้วยการเรียนรู้ตามอัธยาศัยที่จะทำให้เขาได้มีความรู้” นายวิทิต เติมผลบุญ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียน ซี วาย เอฟ
การพัฒนาครั้งนี้จะมีการทำงานในรูปแบบของการขับเคลื่อนด้วยกระบวนการ (Process-driven) ที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถเกิดการ “ทำซ้ำ” กระบวนการเหล่านี้ในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไปได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ อันจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพของการประกอบอาชีพของประชาชนในท้องถิ่นด้วยการนำภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่าด้วยความรู้ใหม่ ๆ เพื่อให้เป็นองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพแบบครบวงจร (One-stop service) ให้กับประชาชนในท้องถิ่น โดยใช้การบริหารจัดการความรู้เชิงรุก การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความรู้ และการทำงานร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง