OKMD กระตุกต่อมคิด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ - Opportunity for All
กระตุกต่อมคิด เพื่อพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา

OKMD จับมือ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ยกระดับศักยภาพบุคลากร ปั้นธุรกิจสู่ความยั่งยืนด้วย BBL

256 | 11 พฤษภาคม 2566
OKMD จับมือ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ยกระดับศักยภาพบุคลากร  ปั้นธุรกิจสู่ความยั่งยืนด้วย BBL
11 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุม 1 สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กรุงเทพฯ - สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาองค์ความรู้ และให้บริการองค์ความรู้ เพื่อยกระดับความสามารถของแรงงานและเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของสถานประกอบการ ด้วยแนวทางการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (ESG) ประเดิม “โครงการยกระดับสถานประกอบการสู่การผลิตที่ยั่งยืน ผ่านกระบวนการสอนงานตามหลักการเรียนรู้ของสมอง” (ESG On-boarding with Brain-based Learning) มุ่งติดอาวุธแก่ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างสมดุลทั้งในด้านผลประกอบการ การดูแลสังคม และการใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ กล่าวถึงความสำคัญและเป้าหมายของความร่วมมือในครั้งนี้ว่า  “เพราะในโลกปัจจุบันที่่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การแข่งขันทั้งทางด้านเศรษฐกิจแลสังคมเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ เพื่อยกระดับทักษะความสามารถของแรงงานไทยและเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการไทยให้สามารถดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ”
 
“OKMD และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติจึงบูรณาการจุดเด่น ความถนัด และความเชี่ยวชาญของทั้งสองหน่วยงาน ซึ่งได้แก่ ความเชี่ยวชาญในด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management หรือ KM) และการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง (Brain – based Learning หรือ BBL ของ OKMD และการเพิ่มผลิตภาพ โดยการให้ความรู้และพัฒนาด้านการผลิตและการบริหารจัดการของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ มาพัฒนาต่อยอดการศึกษาวิจัยและขยายผลแนวทางการนำองค์ความรู้ด้าน BBL ในการพัฒนาวิธีปฏิบัติงานและการสอนงานในโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการ จำนวน 87 แห่ง ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ในระหว่างปี พศ. 2555-2562 ซึ่งพบว่า พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ลดความผิดพลาด และมีทักษะในการทำงานที่หลากหลาย สามารถเข้าใจภาระงาน และมีเทคนิคการทำงานที่มีประสิทธิภาพ สอดรับกับสถานการณ์ในหลายโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างพนักงานจำนวนน้อยลง แต่สามารถเพิ่มผลผลิต ลดของเสียและความผิดพลาด รวมถึงลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายลง”

“ในปีนี้เราจึงพัฒนาเป็นหลักสูตรบริการความรู้และพัฒนาทักษะกระบวนการที่จะเสริมสร้างผู้ประกอบการไทย ให้สามารถพัฒนาและเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนภายใต้บริบทของโลกที่เปลี่ยนไป ภายใต้หลักสูตรชื่อ การยกระดับสถานประกอบการสู่การผลิตที่ยั่งยืน ผ่านกระบวนการสอนงานตามหลักการเรียนรู้ของสมอง หรือ ESG On-boarding with Brain-based Learning โดยการนำกรอบแนวคิดการขับเคลื่อนภาคธุรกิจให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงประเด็นพื้นฐานใน 3 มิติสำคัญ มิติสิ่งแวดล้อม (Environmental) มิติสังคม (Social) และมิติธรรมาภิบาล หรือบรรษัทภิบาล  (Governance) ผนวกเข้ากับการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านการผลิต การปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยเครื่องมือผลิตภาพ ด้านการจัดการทรัพยากร และการถ่ายทอดวิธีการปฏิบัติงานตามหลัก BBL”
 
นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กล่าวว่า “ในการร่วมมือครั้งนี้มีจุดเด่นที่สำคัญ คือ การให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อช่วยผู้ประกอบการในการเพิ่มผลิตภาพของกระบวนการผลิต ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน (ESG) โดยผู้ประกอบการหรือบุคลากร จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิด ESG ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับองค์กรที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี ในเรื่องดังกล่าว และเรียนรู้การใช้เครื่องมือผลิตภาพสำหรับการจัดการทรัพยากร (Resource Productivity Techniques) ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง การออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรม และกระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำ

ทั้งหมดนี้ จะสอดคล้องตามหลักการเรียนรู้ของสมอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจ สามารถจดจำและนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วยตนเอง โดยช่วงเริ่มต้นนี้จะเปิดรับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการนำร่องจำนวน 5 องค์กร ใช้ระยะเวลาในดำเนินโครงการประมาณ 6 เดือน ก่อนที่จะขยายผลอย่างเต็มรูปแบบในปีต่อ ๆ ไป”
 
“ด้วยกิจกรรมและรูปแบบในการเรียนรู้ทั้งหมดได้ถูกออกแบบอย่างพิถีพิถันตามหลักการเรียนรู้ของสมอง (Brain-based Learning) ดังนั้น สิ่งที่องค์กรจะได้รับจึงไม่ใช่แค่การปรับปรุงกระบวนการผลิตขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาสมรรถนะของบุคลากรให้พร้อมสำหรับการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน” นายสุวรรณชัยกล่าวทิ้งท้าย

โดยในปี 2566 จะดำเนินโครงการนำร่อง เปิดรับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวน 5 องค์กร โดยผู้ที่เข้าร่วมจะได้รับการฝึกอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ESG การปรับปรุงตามแนวทาง Resource Productivity Management และการถ่ายทอดกระบวนการทำงานรูปแบบใหม่

ข่าวและกิจกรรมอื่นๆ

ประชาสัมพันธ์การใช้งาน E-Workforce Ecosystem Platform

ประชาสัมพันธ์การใช้งาน E-Workforce Ecosystem Platform

E-Workforce Ecosystem Platform แพลตฟอร์มอัจฉริยะที่เชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละหน่วยงานให้เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และช่วยสร้างโปรไฟล์เพื่อรองรับการเพิ่มทักษะ การมีงานทำ
ขอเชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ OKMD ปีงบประมาณ 2567

ขอเชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ OKMD ปีงบประมาณ 2567

ผ่านการร่วมตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment : EIT)  และมีส่วนร่วมในการสะท้อนความคิดเห็น เพื่อประกอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
OKMD เสริมสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy และ การขับเคลื่อนจริยธรรม ภายในองค์กร

OKMD เสริมสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy และ การขับเคลื่อนจริยธรรม ภายในองค์กร

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรมปลุกจิตสำนึกสร้างวัฒนธรรมให้เจ้าหน้าที่ สบร. ปฏิเสธการรับของขวัญและของกำนัลทุกชนิด
ผอ. OKMD ให้สัมภาษณ์รายการ Human Talk ออกอากาศทาง FM96.5

ผอ. OKMD ให้สัมภาษณ์รายการ Human Talk ออกอากาศทาง FM96.5

รายการ Human Talk ออกอากาศทาง FM96.5 ให้เกียรติสัมภาษณ์ ผอ. OKMD ในหัวข้อ ถอดโมเดลเมืองแห่งการเรียนรู้ปี 2567 ขอนแก่น ยะลา


ข่าวและกิจกรรม