OKMD กระตุกต่อมคิด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ - Opportunity for All
กระตุกต่อมคิด เพื่อพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา

มองมุมคิด “OKMD” สร้าง “คน” ผ่านศูนย์เรียนรู้

2150 | 16 กรกฎาคม 2563
มองมุมคิด “OKMD” สร้าง “คน” ผ่านศูนย์เรียนรู้
หลังจากเคว้งคว้างอยู่นาน เพราะการหาพื้นที่เหมาะสมยังไม่คืบหน้าสำหรับ โครงการศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ หรือ NKC (National KnowledgeCenter) ของสำนักงานบริหาร และพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) คำย่อคือ “สบร.” หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ “Office of Knowledge Managementand Development-OKMD” ก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ภายใต้ผู้นำคนใหม่ล่าสุดอย่าง “วีระ โรจน์พจนรัตน์” ในตำแหน่งประธานกรรมการ ซึ่งก่อนหน้านี้เขาคร่ำหวอดในงานด้านสายวัฒนธรรมมาอย่างโชกโชน

“วีระ” ระบุว่าภารกิจหลักของสำนักงานบริหาร และพัฒนาองค์ความรู้คือการสร้างให้คนสามารถ “เข้าถึง” ความรู้ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม พร้อมทั้งนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาทักษะของตัวเองและต่อยอดสร้างอาชีพให้ตัวเองได้ด้วย ที่สำคัญ เครื่องมือที่จะทำให้ภารกิจสำเร็จคือศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติดังกล่าวที่จะบริหาร จัดการความรู้ที่สมบูรณ์ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้สอดคล้องการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ที่ทุกคนเข้าถึง ได้ค้นคว้า เรียนรู้ สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างนวัตกรรม พัฒนาการเรียนรู้รูปแบบใหม่สำหรับกลุ่มทุกช่วงวัย พร้อมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปทำเป็นต้นแบบ และขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป

“สำหรับสถานที่ตั้งศูนย์การเรียนรู้ฯดังกล่าวมีการคัดเลือกจาก 3 พื้นที่จากบริเวณเขตพัฒนาเชิงพาณิชย์ สวนหลวง-สามย่าน ของสำนักบริหารทรัพย์สินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริเวณอาคารลุมพินีสถาน ภายในสวนลุมพินี ของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ที่สามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานใกล้เคียง และพัฒนาเป็นพื้นที่การเรียนรู้(knowledge hub) ที่สำคัญของประเทศ”

“จนที่สุดคณะกรรมการได้พิจารณาเลือกพื้นที่ของ บมจ.อสมท บริเวณถนนเทียมร่วมมิตรที่ติดกับศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์วัฒนธรรมจีนเนื่องจาก 1) มีระบบขนส่ง และการคมนาคมสะดวก 2) มีปัจจัยแวดล้อมอื่นที่สนับสนุนต่อการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติในหลากหลายรูปแบบ และ 3) พื้นที่ใกล้เคียงกับห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ที่เรียกว่าห้องสมุด “มารวย” ซึ่งเป็นห้องสมุดเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับตลาดทุนที่ทันสมัย และครบวงจร และเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ดำเนินการลงนามข้อตกลงเบื้องต้น(MOU) อย่างเป็นทางการ ในการยินยอมให้ OKMD เข้าใช้พื้นที่เพื่อจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ พื้นที่รวม 11.5 ไร่ ของถนนเทียมร่วมมิตรที่ติดกับศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย”



“OKMD มองยาวไปถึงอนาคตว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นฮับด้านการถ่ายทอด ส่งต่อด้านวัฒนธรรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น วัฒนธรรมจีน ที่ทั้ง 2 ประเทศมีความสัมพันธ์อันดีที่แนบแน่นมาโดยตลอด อีกทั้งในอนาคตศูนย์วัฒนธรรมยังมีแผนที่จะขยายต่อในเฟส 2 อีกด้วย คาดว่าจะมีการสร้างโรงละครเพิ่มเติม รวมถึงการสร้างองค์ความรู้เพื่อให้เข้ามาศึกษาเพิ่มเติมให้ผู้ที่สนใจด้านวัฒนธรรมสามารถเข้ามาใช้บริการได้ครบและจบในพื้นที่เดียวได้อีกด้วย”

“วีระ” กล่าวต่อว่านอกจากนั้นเรายังมีการออกแบบรูปแบบของศูนย์การเรียนรู้ฯดังกล่าวให้อาคารมีรูปแบบ mixed use development concept เพื่อให้สามารถมีการใช้งานได้หลากหลาย เช่น learning workshop mediatheque รวมถึงยังสามารถจัดนิทรรศการ และ auditorium โดยมีพื้นที่ใช้สอยราว 22,000 ตารางเมตรโดยมี 4 ส่วนหลัก ๆ ที่คำนึงถึงพฤติกรรมของผู้ใช้ประโยชน์ที่เปลี่ยนไป พร้อมทั้งนำหลักการของ social distancingมาออกแบบการใช้พื้นที่ให้เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีการบริการอื่น ๆ อย่างเช่นพื้นที่ใช้สอยที่มีความเป็นส่วนตัว กับการใช้พื้นที่ และการใช้บริการอื่น ๆ ร่วมกัน

“สำหรับงบประมาณที่ต้องใช้เพื่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ฯดังกล่าวจะอยู่ที่ไม่เกิน 972 ล้านบาทในช่วงเริ่มต้นและการดำเนินการก่อสร้างจะใช้เวลา3 ปี (ปีงบประมาณ 2564-2566) แบ่งเป็นค่าจัดทำรูปแบบรายการ และการออกแบบภูมิทัศน์รวม 36 ล้านบาท ค่าขนย้ายและค่ารื้อถอน 50 ล้านบาท ค่าก่อสร้างและตกแต่งอาคาร พร้อมทั้งพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัล 850 ล้านบาท และค่าควบคุมงาน 36 ล้านบาทโดยขอตั้งงบประมาณผูกพันข้ามปีคือ งบประมาณปี”64 เสนอตั้งงบฯไว้ที่ 213.20 ล้านบาท งบประมาณปี”65 เสนอตั้งงบฯ 354.40 ล้านบาท และงบประมาณปี”66 ตั้งงบฯไว้ที่ 404.40 ล้านบาท”

“นอกจากนี้ ยังเปรียบเทียบงบประมาณในการจัดตั้งศูนย์กับค่าเช่าสำนักงาน และพื้นที่ให้บริการ โดยเสียค่าเช่าพื้นที่อยู่50.4 ล้านบาทต่อปี หรือรวมทั้งสิ้นประมาณ 2,297.17 ล้านบาท สำหรับการใช้พื้นที่สำนักงาน และพื้นที่ให้บริการสถาบันอุทยานการเรียนรู้ขนาดพื้นที่รวม 6,038 ตารางเมตร รวมระยะเวลา30 ปี ขณะที่การลงทุนจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าวจะมีค่าเช่าพื้นที่ 48 ล้านบาทต่อปี หรือรวมแล้วประมาณ 2,187.78 ล้านบาท เมื่อรวมกับงบประมาณลงทุนก่อสร้างศูนย์แล้วจะอยู่ที่ 972 ล้านบาท รวมงบประมาณที่ต้องใช้อยู่ที่ 3,159.78 ล้านบาท”

“ดังนั้น เมื่อประเมินการใช้งบประมาณจะพบว่า “สูงกว่า” ค่าเช่าพื้นที่ที่เช่าอยู่ในปัจจุบัน 862.61 ล้านบาท แต่หากมองการลงทุนสร้างศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติมีความ “คุ้มค่า” มากกว่า เนื่องจากมีพื้นที่ใช้ประโยชน์สำหรับให้บริการเพิ่มขึ้นมากกว่า 3.5 เท่า ที่สำคัญคือสามารถให้บริการแก่ประชาชนคล่องตัวมากกว่าการเป็นผู้เช่าอาคารที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาเช่า”

“วีระ” ยังบอกอีกว่าศูนย์การเรียนรู้ฯนี้ได้เพิ่มบทบาทของแหล่งเรียนรู้ใหม่ภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ที่กลายเป็นตัวเร่งในการเรียนรู้ผ่านplatform online ให้มีบทบาทมากขึ้นทั้งยังสร้างสมดุลการเรียนรู้ ด้วยการนำหลักการสาธารณสุขมาปรับใช้ นอกจากนั้น ศูนย์การเรียนรู้ฯดังกล่าวยังสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คือ 2560-2579 ในยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพของคน ด้วยการพัฒนาศักยภาพของคนในทุกช่วงวัย และส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อให้คนไทยมีศักยภาพเพียงพอในการมีส่วนร่วมกันพัฒนาประเทศ

“สำหรับผลงานของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ในช่วงที่ผ่านมา ประกอบด้วยงานห้องสมุดมีชีวิต ภายใต้การดำเนินงานของสถาบันอุทยานการเรียนรู้ เน้นไปที่การปลูกฝัง และส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในรูปแบบ “ห้องสมุดมีชีวิต” พร้อมทั้งรองรับการเรียนรู้ที่ทันสมัย มีการเชื่อมโยงเครือข่ายกระจายความรู้ และเป็นแหล่งข้อมูลสาธารณะ ตามมาด้วยงานด้านพิพิธภัณฑ์ ภายใต้การดำเนินการของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เน้นสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในรูปแบบ play+learn ในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ และยกระดับมาตรฐานการจัดการการเรียนรู้รูปแบบใหม่ให้กับประชาชน”

“ต่อมาคืองานบริหารจัดการองค์ความรู้ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานบริหารและจัดการองค์ความรู้ ที่เน้นการบูรณาการองค์ความรู้ในลักษณะองค์รวม ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การวางแผน การติดตามประเมินผล นอกจากนี้ยังรวมถึงการจัดระบบการเรียนรู้สาธารณะ ผ่านแหล่งเรียนรู้สาธารณะที่ประชาชนสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ในการเพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถได้ทั่วถึง เสริมสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในภาพรวมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ”

ส่วนเรื่องสิ่งที่พิสูจน์บทบาทของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ในช่วงที่ผ่านมานั้น “วีระ” บอกว่ามีผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมใช้แหล่งเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ มากกว่า 4 ล้านคนผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์มากกว่า10 ล้านคน ผู้ได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“โดยชี้ให้เห็นว่าความต้องการแหล่งเรียนรู้ และการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ของคนไทย สอดคล้องกับการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีในยุคที่เรียกว่า “internet ofthings” รวมถึงบริบททางเศรษฐกิจและสังคมหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19ยิ่งทำให้ประเทศควรมีศูนย์เรียนรู้ขนาดใหญ่และมีความทันสมัย เพื่อเป็นฐานรากทางความคิดและการสร้างนวัตกรรมของชาติต่อไป”

ที่มา : https://www.prachachat.net/csr-hr/news-489383

ข่าวและกิจกรรมอื่นๆ

ผอ. OKMD ให้สัมภาษณ์รายการ Human Talk ออกอากาศทาง FM96.5

ผอ. OKMD ให้สัมภาษณ์รายการ Human Talk ออกอากาศทาง FM96.5

รายการ Human Talk ออกอากาศทาง FM96.5 ให้เกียรติสัมภาษณ์ ผอ. OKMD ในหัวข้อ ถอดโมเดลเมืองแห่งการเรียนรู้ปี 2567 ขอนแก่น ยะลา

OKMD ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้และองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ” ร่วมกับเครือข่ายจังหวัดบึงกาฬ

OKMD ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้และองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ” ร่วมกับเครือข่ายจังหวัดบึงกาฬ

ผอ.OKMD จับมือกับพันธมิตร ร่วมลงนาม MOU ในการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้และองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ ร่วมกับเครือข่ายจังหวัดบึงกาฬ
OKMD ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้และองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ” ร่วมกับเครือข่ายจังหวัดนครพนม

OKMD ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้และองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ” ร่วมกับเครือข่ายจังหวัดนครพนม

ผอ.OKMD จับมือกับพันธมิตร ร่วมลงนาม MOU ในการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้และองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ ร่วมกับเครือข่ายจังหวัดนครพนม

ข่าวและกิจกรรม