OKMD กระตุกต่อมคิด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ - Opportunity for All
กระตุกต่อมคิด เพื่อพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา

Global trends in world trade of creative goods and services

5054

Global trends in world trade of creative goods and services [1]


ภายใต้สภาวการณ์การแข่งขันของโลก ที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อคุณภาพและความแตกต่างของสินค้าและบริการ ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องให้ความสนใจมากขึ้นในการสร้างสรรค์ความแตกต่างที่มีคุณค่าในสายตาของผู้บริโภคในทุกระดับ และรัฐบาลในหลายประเทศหันมาใช้นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยเห็นได้จากอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry) ในระยะหลายปีที่ผ่านมา ในปี 2551 มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของโลก มีมูลค่าสูงถึง 592 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราเจริญเติบโตร้อยละ 14 ต่อปี นับจากปี 2545 มูลค่าการส่งออกนี้รวมทั้ง สินค้าสร้างสรรค์ และบริการสร้างสรรค์ด้วย


มูลค่าส่งออกของสินค้าสร้างสรรค์ของโลก เติบโตร้อยละ 11.5 ต่อปี นับจากปี 2545 ถึง 2551 ซึ่งมีมูลค่ารวมสูงถึง 407 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2551 ส่วนมูลค่าการส่งออกของบริการสร้างสรรค์ เติบโตจาก 62 พันล้านเหรียญ เป็น 185 พันล้านเหรียญ คิดเป็นอัตราเติบโตร้อยละ 17 ต่อปี ในช่วงระหว่างปี 2545 ถึง 2551 โดยมูลค่าการส่งออกของบริการสร้างสรรค์คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในปี 2551


องค์การสหประชาชาติโดย UNCTAD[2] ได้ทำการศึกษาการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของโลก ได้เก็บรวมรวบสถิติที่น่าสนใจดังตารางที่ 1


ตารางที่ 1

มูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของโลก แบ่งตามประเภท ปี 2545 และ ปี 2551


มูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของโลก แบ่งตามประเภท ปี 2545 และ ปี 2551

  • [1] UNCTAD แบ่งประเภทอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ มรดกทางวัฒนธรรม (Heritage or Cultural Heritage) ศิลปะ (Arts) สื่อ (Media) และงานสร้างสรรค์ตามลักษณะงาน (Functional Creation)
  • [2] องค์การความร่วมมือเพื่อการค้าและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ

ตารางที่ 2

มูลค่าส่งออกของสินค้าสร้างสรรค์ แบ่งตามประเภทสินค้าและแบ่งตามกลุ่มประเทศ เปรียบเทียบระหว่างปี 2545 และ 2551


มูลค่าส่งออกของสินค้าสร้างสรรค์ แบ่งตามประเภทสินค้าและแบ่งตามกลุ่มประเทศ เปรียบเทียบระหว่างปี 2545 และ 2551

ตารางที่ 2 ข้างบนแสดงมูลค่าส่งออกของสินค้าสร้างสรรค์ แบ่งตามประเภทสินค้าและแบ่งตามกลุ่มประเทศ เปรียบเทียบระหว่างปี 2545 และ 2551 แสดงให้เห็นอัตราการเติบโตของมูลค่าส่งออกที่สูงขึ้นมาก


แผนภาพที่ 1

มูลค่าส่งออกของสินค้าและบริการสร้างสรรค์ของโลก เปรียบเทียบระหว่างปี 2545 และ 2551


มูลค่าส่งออกของสินค้าและบริการสร้างสรรค์ของโลก เปรียบเทียบระหว่างปี 2545 และ 2551

แผนภาพที่ 1 ข้างบนแสดงมูลค่าส่งออกของสินค้าและบริการสร้างสรรค์ของโลก เปรียบเทียบระหว่างปี 2545 และ 2551 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็วของมูลค่าส่งออกในหมวดสินค้าและบริการสร้างสรรค์ต่าง ๆ


ตารางที่ 3

มูลค่าการส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ แบ่งตามประเทศ เปรียบเทียบปี 2545 และ 2551



ตารางที่ 3 ข้างบนแสดงมูลค่าการส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ แบ่งตามประเทศ เปรียบเทียบปี 2545 และ 2551 แสดงให้เห็นว่าในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีอัตราการเติบโตของมูลค่าส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ที่สูงมาก


สำหรับประเทศไทยมีการศึกษาเรื่องอุตสาหกรรมสร้างสรรค์โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ในปี 2552 พบว่า มูลค่าของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในประเทศไทยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 10-11 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยกลุ่มงานสร้างสรรค์ตามลักษณะงาน (Functional Creation) กลุ่มมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และกลุ่มสื่อ (Media) เป็นกลุ่มที่มีมูลค่าสูงสุด ซึ่งหากพิจารณาแยกรายกลุ่มย่อยจะพบว่าการออกแบบเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าสูงที่สุด รองลงมาคือกลุ่มงานฝีมือและหัตถกรรม และกลุ่มแฟชั่น โดยทั้ง 3 กลุ่มมีมูลค่ารวมกันประมาณร้อยละ 9.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และจากข้อมูลของ UN COMTRADE ในปี 2551 พบว่า แม้ประเทศไทยจะมีส่วนแบ่งในตลาดส่งออกอุตสาหกรรมสร้างสรรค์โลกไม่ถึงร้อยละ 2 แต่ก็มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยระหว่างปี 2543-2548 ถึงร้อยละ 6 ต่อปี ดังแสดงในแผนภาพด้านล่าง


แผนภาพที่ 2

สัดส่วนของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของไทย ปี 2545-2550




แผนภาพที่ 3

สถานะของการส่งออกอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ


0

สถิติสร้างสรรค์