OKMD ร่วมกับ Hatyai Connext จัดกิจกรรม “Hatyai Uncover the Roots: หาดใหญ่ที่เพิ่งรู้” ชวนเรียนรู้เมืองผ่านการเดินเมือง
17 พฤษภาคม 2568 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา - สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD ร่วมกับเครือข่ายนักพัฒนาเมือง Hatyai Connext จัดกิจกรรม “Hatyai Uncover the Roots: หาดใหญ่ที่เพิ่งรู้” เพื่อเปิดพื้นที่การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมให้กับประชาชนในเมืองหาดใหญ่ โดยเน้นการเรียนรู้ผ่านการเดินเท้า ปฏิสัมพันธ์กับผู้คน และการสำรวจสถานที่จริง เพื่อถอดรหัสองค์ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในพื้นที่เมือง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากหลากหลายวัยและสาขาอาชีพเป็นจำนวนกว่า 40 คน ซึ่งประกอบไปด้วยคนท้องถิ่น นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจเรื่องเมือง ร่วมกันสำรวจ “ความรู้ฝังพื้นที่” (Tacit Knowledge) ที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้จากหนังสือหรือห้องเรียน
จาก “Knowledge Map หาดใหญ่” สู่ “Hatyai Uncover the Roots : หาดใหญ่ที่เพิ่งรู้” กิจกรรมเดินเมืองที่ต่อยอดจากโครงการแผนที่ความรู้ ซึ่งเชื่อมโยงองค์ความรู้ในระดับท้องถิ่น สู่การจัดกิจกรรมที่มีชีวิตชีวา ผ่านการเดินเท้า เรียนรู้ร่วมกับชุมชน เพื่อตกผลึกมุมมองใหม่ในหาดใหญ่ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้จักมาก่อน ทั้งในมิติของสถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตร่วมสมัย และการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้
โดยกิจกรรมแผนที่ความรู้ในครั้งนี้ ได้ร่วมสำรวจเมืองผ่านเรื่องราว 3 อรรถรสที่กลมกล่อม โดยวิทยากรรับเชิญสายลึกได้ให้เกียรติมาร่วมแชร์ความรู้และประวัติศาสตร์เมือง
Hidden Architecture:
เดินสำรวจย่านเก่า (ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 และ 2) เพื่อเรียนรู้ลวดลายอาคารและรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ซ่อนรหัสแห่งประวัติศาสตร์ของเมืองหาดใหญ่ ตั้งแต่ยุคการค้าแบบดั้งเดิมจนถึงยุคสมัยใหม่ รวมไปถึงวิเคราะห์องค์ประกอบอย่างประตู หน้าต่าง ป้ายร้านค้า ลวดลาย และวัสดุ ซึ่งช่วยให้เข้าใจพัฒนาการของเมืองในแต่ละช่วงเวลา
Craftmanship:
เยี่ยมชมย่านใต้สะพานและชุมชนแสงศรี พบปะผู้คนที่ประกอบอาชีพดั้งเดิมของเมือง เช่น ช่างทอง ช่างทำรองเท้า ร้านกุยช่าย และร้านไอศกรีม ที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ในอาชีพ วิถีชีวิต และประวัติศาสตร์ร่วมกับชุมชนที่สั่งสมมานาน ซึ่งกิจกรรมนี้เองได้เปิดมุมมองว่า “อาชีพ” คือส่วนหนึ่งของโครงสร้างเมือง และการถ่ายทอดองค์ความรู้ท้องถิ่น คือเครื่องมือสำคัญในการอนุรักษ์อัตลักษณ์เมือง
Learning Universe CITY:
ปิดท้ายกิจกรรมเดินเมืองกันที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ. หาดใหญ่) เดินสำรวจ “ตึกฟักทอง” ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Brutalist ที่ออกแบบโดย อ.อมร ศรีวงศ์ โดยเน้นความเท่าเทียมในการใช้งานพื้นที่ของคนทุกกลุ่ม ทั้งด้านสภาพกายภาพและคุณค่าทางปัญญา ในพาร์ตนี้ วิทยากรและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะ “เมืองแห่งการเรียนรู้” ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในแวดวงวิชาการ แต่รวมถึงการออกแบบพื้นที่และวัฒนธรรมที่เกื้อหนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
กิจกรรม “Hatyai Uncover the Roots: หาดใหญ่ที่เพิ่งรู้” สะท้อนแนวคิดหลักของ OKMD ที่ว่า เมืองสามารถเป็นพื้นที่เรียนรู้ที่มีชีวิตได้ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นกายภาพ วัฒนธรรม หรืออาชีพในท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนคือหัวใจของการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
จาก “Knowledge Map หาดใหญ่” สู่ “Hatyai Uncover the Roots : หาดใหญ่ที่เพิ่งรู้” กิจกรรมเดินเมืองที่ต่อยอดจากโครงการแผนที่ความรู้ ซึ่งเชื่อมโยงองค์ความรู้ในระดับท้องถิ่น สู่การจัดกิจกรรมที่มีชีวิตชีวา ผ่านการเดินเท้า เรียนรู้ร่วมกับชุมชน เพื่อตกผลึกมุมมองใหม่ในหาดใหญ่ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้จักมาก่อน ทั้งในมิติของสถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตร่วมสมัย และการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้
โดยกิจกรรมแผนที่ความรู้ในครั้งนี้ ได้ร่วมสำรวจเมืองผ่านเรื่องราว 3 อรรถรสที่กลมกล่อม โดยวิทยากรรับเชิญสายลึกได้ให้เกียรติมาร่วมแชร์ความรู้และประวัติศาสตร์เมือง
- คุณบัญชร วิเชียรศรี บรรณาธิการสถานีวิทยุ ม.อ.หาดใหญ่ - PSU Broadcast
- คุณภัฏ รักษ์ทองธนา สถาปนิกและนักจัดกิจกรรมด้านพื้นที่สร้างสรรค์
Hidden Architecture:
เดินสำรวจย่านเก่า (ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 และ 2) เพื่อเรียนรู้ลวดลายอาคารและรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ซ่อนรหัสแห่งประวัติศาสตร์ของเมืองหาดใหญ่ ตั้งแต่ยุคการค้าแบบดั้งเดิมจนถึงยุคสมัยใหม่ รวมไปถึงวิเคราะห์องค์ประกอบอย่างประตู หน้าต่าง ป้ายร้านค้า ลวดลาย และวัสดุ ซึ่งช่วยให้เข้าใจพัฒนาการของเมืองในแต่ละช่วงเวลา
Craftmanship:
เยี่ยมชมย่านใต้สะพานและชุมชนแสงศรี พบปะผู้คนที่ประกอบอาชีพดั้งเดิมของเมือง เช่น ช่างทอง ช่างทำรองเท้า ร้านกุยช่าย และร้านไอศกรีม ที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ในอาชีพ วิถีชีวิต และประวัติศาสตร์ร่วมกับชุมชนที่สั่งสมมานาน ซึ่งกิจกรรมนี้เองได้เปิดมุมมองว่า “อาชีพ” คือส่วนหนึ่งของโครงสร้างเมือง และการถ่ายทอดองค์ความรู้ท้องถิ่น คือเครื่องมือสำคัญในการอนุรักษ์อัตลักษณ์เมือง
Learning Universe CITY:
ปิดท้ายกิจกรรมเดินเมืองกันที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ. หาดใหญ่) เดินสำรวจ “ตึกฟักทอง” ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Brutalist ที่ออกแบบโดย อ.อมร ศรีวงศ์ โดยเน้นความเท่าเทียมในการใช้งานพื้นที่ของคนทุกกลุ่ม ทั้งด้านสภาพกายภาพและคุณค่าทางปัญญา ในพาร์ตนี้ วิทยากรและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะ “เมืองแห่งการเรียนรู้” ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในแวดวงวิชาการ แต่รวมถึงการออกแบบพื้นที่และวัฒนธรรมที่เกื้อหนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
กิจกรรม “Hatyai Uncover the Roots: หาดใหญ่ที่เพิ่งรู้” สะท้อนแนวคิดหลักของ OKMD ที่ว่า เมืองสามารถเป็นพื้นที่เรียนรู้ที่มีชีวิตได้ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นกายภาพ วัฒนธรรม หรืออาชีพในท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนคือหัวใจของการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน