OKMD กระตุกต่อมคิด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ - Opportunity for All
กระตุกต่อมคิด เพื่อพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา

สบร. เผย 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ดาวรุ่ง OTOP ไทย ในตลาดโลก | 27 มีนาคม 2558

2124 | 27 มีนาคม 2558

เมื่อวันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา สานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ สบร. ได้จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "พัฒนา OTOP สร้างสรรค์สู่สากล" พร้อมเผยผลวิจัยแนวโน้มความ ต้องการผลิตภัณฑ์ OTOP ของตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อภิชาติ ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักโครงการและจัดการความรู้ สบร. เป็นประธานกล่าวเปิดงาน





สบร. ได้ร่วมมือกับ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ดำเนินการศึกษาวิจัยแนวโน้มความต้องการ ผลิตภัณฑ์ OTOP ของตลาดในและต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์ในการชี้ช่องทางพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ ให้ สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค โดยเน้นศึกษาข้อมูลทั้งเชิงวิชาการจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเชิง พฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคจากกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ รวมทั้งข้อมูลการตลาดต่างประเทศ กว่า 180 ประเทศ พบ 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มียอดขายสูงสุด ใน 4 ประเทศ ดังนี้


กลุ่มอาหารแปรรูปและเครื่องดื่ม

พบว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้เป็นสินค้าที่มียอดขายในประเทศเยอรมนีและ สหรัฐอเมริกามากที่สุด โดยมียอดขายสูงถึง 169,791 ล้านเหรียญยูโร ในเยอรมณี และ 748,712 ล้านเหรียญ สหรัฐ ในสหรัฐอเมริกา ขณะที่ข้อมูลพยากรณ์การเติบโตของยอดขายในช่วงปี 2556-2561 จากข้อมูล Euromonitor พบว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ 0.77 ในเยอรมนี และ ร้อยละ 2.18 ในสหรัฐอเมริกา โดยประเภทผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในสองประเทศนี้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ประเภทขนมคบ เคี้ยวเพื่อสุขภาพ เช่น ข้าวอินทรีย์แปรรูป ผักอบกรอบแต่งกลิ่นเฉพาะ และผลไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส แบบไทย เช่น ซอสพริก ซอสปรุงรส และน้าจิ้มไก่ และผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสุขภาพ เช่น น้าผลไม้เข้มข้น ชาสมุนไพร ชาผลไม้ เครื่องดื่มชงสำเร็จรูป


กลุ่มของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก

พบว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้เป็นสินค้าที่มียอดขายในประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด โดย มียอดขายสูงถึง 9,066 ล้านเยน ขณะที่ข้อมูลพยากรณ์การเติบโตของยอดขายในช่วงปี 2556-2561 จาก Euromonitor พบว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ 0.68 โดยเหตุผลหลักที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบผลิตภัณฑ์ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก ที่ผลิตจากประเทศไทย เนื่องจากมีคุณภาพดีและดีไซน์สวยงาม ดังนั้นในแง่ของการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้โดนใจผู้บริโภคมากขึ้น ผู้ประกอบการต้องคิดค้นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ ให้มีทั้งความสวยงาม ความคงทน และฟังชั่นการใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย โดยเน้นเอาวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติมาสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมและการลดใช้พลังงานมากขึ้น


กลุ่มผ้า เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ

พบว่า ผลิตภัณฑ์กลุ่มมียอดขายในประเทศสิงคโปร์มากที่สุด โดยมียอดขายสูงถึง 8,577 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ขณะที่ข้อมูลพยากรณ์การเติบโตของยอดขายในช่วงปี 2556-2561 จาก Euromonitor พบว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ 2.28 ทั้งนี้สำหรับกระบวนการสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า ผู้ประกอบการต้องเริ่มจากการพัฒนาการออกแบบให้มีความโดดเด่นและทันสมัย โดยประยุกต์เอาวัฒนธรรมและวิถีการดาเนินชีวิตเข้าไปสร้างจุดเด่น แต่ยังคงความประณีตเรียบร้อย เน้นผลิตสินค้าเป็นล็อตเล็กๆ แต่มีความหลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ นอกจากนี้ในแง่ของวัสดุก็ต้องมีความคงทนแข็งแรงใช้งานได้นาน ที่สำคัญต้องมีแบรนด์สินค้าเป็นของตนเองเพราะเป็นที่ชื่นชอบของคนสิงคโปร์





ดังนั้นยุทธศาสตร์การพัฒนาต่อยอดสินค้าและผลิตภัณฑ์ ให้มีคุณภาพและความแปลกใหม่สวยงามจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ จึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการผลักดันธุรกิจ OTOP ไทย ให้สามารถเข้าไปตีตลาดทั้งในและต่างประเทศได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้จากสถานการณ์การส่งออกของประเทศที่ประสบปัญหาติดลบถึง 6% ในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ (ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย) หากผู้ประกอบการ OTOP สามารถพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องการของตลาดเป้าหมาย จะสามารถช่วยให้สถานการณ์ดังกล่าวดีขึ้น


นอกจากนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากร ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็นในประเด็นโอกาสและความได้เปรียบทางการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดต่างประเทศ สำหรับเป็นไอเดียให้กับผู้ประกอบการนำไปพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ


คุณวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา อุปนายกกลุ่มผักและผลไม้ สมาคมผู้ผลิตอาหารสาเร็จรูป

"ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทย ดังนั้นการนำความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ ควบคู่ไปกับการสร้างแบรนด์จึงถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญมาก ในการกู้วิกฤติสถานการณ์ให้ดีขึ้น ทั้งนี้ในส่วนของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มผักและผลไม้นั้น ผู้ประกอบการต้องอาศัยช่องทางส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีความชื่อชอบสินค้าและผลิตภัณฑ์จากประเทศไทยอย่างมาก เพื่อสร้างแบรนด์และชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จัก จากนั้นจึงค่อยๆ ขยายตลาดออกไปในประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรปซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูงมาก เพื่อช่วยเพิ่มยอดขายในภาพรวม"


คุณศิริชัย เลิศศิริมิตร นายกสมาคมของขวัญ ของชาร่วยไทยและของตกแต่งบ้าน

"นายกสมาคมของขวัญของชาร่วยไทยและของตกแต่งบ้าน กล่าวว่า ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาทั่วโลกจนส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศไทย ในแง่หนึ่งต้องยอมรับว่าสินค้าและผลิตภัณฑ์กลุ่มส่งออกย่อมได้รับผลกระทบไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามเพื่อกู้วิกฤติสถานการณ์ให้ดีขึ้น คิดว่าภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งปรับกลยุทธ์ โดยพยายามผลักดันยอดการส่งออกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทาได้ ควบคู่ไปกับการนาข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก ขณะเดียวกันตัวผู้ประกอบการเองก็ต้องพยายามลดต้นทุนลงในการผลิตลง พร้อมกับนาการออกแบบดีไซน์ผลิตภัณฑ์ที่สวยงามและโดดเด่นเข้ามาเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า"








ช่วงบ่ายเป็นการ Workshop ผู้ประกอบการ หัวข้อ "แต่งเติมเพิ่มค่า สู่สินค้า OTOP สร้างสรรค์" โดย คุณธนันธน์ อภิวันทนาพร ผู้อานวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจต่างประเทศและการตลาด สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้ประกอบการ โดยเน้นการนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและจุดเด่นใกล้ตัวเข้ามาเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP

ข่าวและกิจกรรมอื่นๆ

ผอ. OKMD ให้สัมภาษณ์รายการ Human Talk ออกอากาศทาง FM96.5

ผอ. OKMD ให้สัมภาษณ์รายการ Human Talk ออกอากาศทาง FM96.5

รายการ Human Talk ออกอากาศทาง FM96.5 ให้เกียรติสัมภาษณ์ ผอ. OKMD ในหัวข้อ ถอดโมเดลเมืองแห่งการเรียนรู้ปี 2567 ขอนแก่น ยะลา

OKMD ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้และองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ” ร่วมกับเครือข่ายจังหวัดบึงกาฬ

OKMD ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้และองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ” ร่วมกับเครือข่ายจังหวัดบึงกาฬ

ผอ.OKMD จับมือกับพันธมิตร ร่วมลงนาม MOU ในการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้และองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ ร่วมกับเครือข่ายจังหวัดบึงกาฬ
OKMD ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้และองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ” ร่วมกับเครือข่ายจังหวัดนครพนม

OKMD ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้และองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ” ร่วมกับเครือข่ายจังหวัดนครพนม

ผอ.OKMD จับมือกับพันธมิตร ร่วมลงนาม MOU ในการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้และองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ ร่วมกับเครือข่ายจังหวัดนครพนม

ข่าวและกิจกรรม