OKMD กระตุกต่อมคิด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ - Opportunity for All
กระตุกต่อมคิด เพื่อพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา

นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสมองวัยรุ่น

4857


แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสมองวัยรุ่น


โดย ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ


แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสมองวัยรุ่น เป็นเวทีเสวนาวิชาการที่จัดขึ้นในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “10 ปี การเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง (Brain-Based Learning: BBL)” ที่นำเสนอองค์ความรู้ด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง ที่ได้จากการศึกษาสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยและสถานการณ์ปัจจุบันในบริบทสังคมไทย และนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาจัดทำเป็นแนวคิดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองไปปรับใช้ในการพัฒนาอนาคตของชาติและเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาวัยรุ่นในสังคมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ยั่งยืน โดยมีเนื้อหาสรุปตามหัวข้อเสวนา ดังนี้


ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสมองวัยรุ่น


เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันว่าสมองของวัยรุ่นยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปสมองจะมีการพัฒนาจากด้านในสู่ด้านนอก โดยเริ่มจากสมองส่วนสัญชาตญาณและการสัมผัส สู่สมองส่วนกลางที่ควบคุมอารมณ์ และสมองส่วนหน้าที่เป็นสมองส่วนคิดที่จะมีการเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุ 20-25 ปี เมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่น สมองส่วนไม่ได้ใช้งานจะค่อยๆ ถูกลิดทอน (Pruning) จึงเป็นความจำเป็นที่ครูและผู้ปกครองจะต้องให้ความสนใจกับการพัฒนาพหุปัญญา โดยให้เด็กวัยรุ่นได้มีการพัฒนาทักษะต่างๆ ให้ครบทุกด้านเพื่อให้เกิดสมดุลในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิต โดยคำว่าพหุปัญญา ที่สำคัญจะประกอบด้วยทักษะในการคิดวิเคราะห์ (Analytical Skill) การสำรวจและรู้จักตนเอง (Introspective Skill) และการคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน (Interactive Skill) ซึ่งทักษะเหล่านี้ไม่ใช่พรสวรรค์ แต่เป็นพรแสวงที่ต้องได้รับจากการลงมือทำและเรียนรู้ ซึ่งสำหรับวัยรุ่นแล้ว ไม่มีคำว่าสายในการพัฒนาและปรับตัว เพราะยังเป็นช่วงของการพัฒนาตัวตนเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ใหญ่ หากได้รับการชี้แนะสนับสนุนจากผู้ใหญ่และการได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม



ฮอร์โมนกับวัยรุ่น


ฮอร์โมนเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อวัยรุ่น จากการศึกษาพบว่าเด็กไทยยิ่งโตยิ่งมีความเครียดมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่หลั่งออกมาเมื่อเด็กมีความเครียดมากๆ จะทำให้สมองส่วนการเรียนรู้ทำงานลดลงและเซลประสาทจะถูกทำลาย ฮอร์โมนอีกตัวที่ส่งผลต่อสมองเด็กวัยรุ่นคือ โดพามีน (Dopamine) ซึ่งทำให้เกิดการตื่นตัวเมื่อมีความเครียดระดับหนึ่ง แต่หากมีมากไป ก็จะมีผลเสียต่อสมองและระบบความจำ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าสภาพแวดล้อมมีผลต่อวัยรุ่นมาก หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการกระตุ้นอย่างพอเหมาะ จะทำให้เด็กมีการตื่นตัว พัฒนา และค้นหาตนเอง ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของครูและผู้ปกครองที่จะต้องส่งเสริมให้เด็กวัยรุ่นประสบความสำเร็จและชี้นำไปในทางที่เหมาะสม


ในการพัฒนาของเด็กมีทั้งปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยสร้างที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย


  • ในเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ความรักความอบอุ่นของครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญ
  • ในเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ซึ่งเป็นช่วงเริ่มของการ Pruning จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในทุก ๆ ด้าน ซึ่งครูและโรงเรียนมีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อสร้างความสมดุลในเด็ก
  • ในวัยรุ่น (13-19 ปี) เป็นช่วงที่เด็กต้องการการยอมรับ เพื่อน และสิ่งแวดล้อม


ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 1029.48 KB)

เอกสารเผยแพร่อื่นๆ

เด็กกับเทคโนโลยี ความพอดีอยู่ทีไหน

เด็กกับเทคโนโลยี ความพอดีอยู่ทีไหน

เมื่อเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและมีบทบาทมากขึ้น จะทำอย่างไรให้เด็กๆ ใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทัน และชาญฉลาด
ทิศทางใหม่ของการจัดการเรียนรู้

ทิศทางใหม่ของการจัดการเรียนรู้

ทำความรู้จัก เข้าใจแนวทางจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ร่วมวิเคราะห์ สร้างสรรค์คำตอบให้กับการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 เพื่อนำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
การสร้างเยาวชนของชาติ เพื่อตอบโจทย์อนาคต

การสร้างเยาวชนของชาติ เพื่อตอบโจทย์อนาคต

“การสร้างเยาวชนของชาติ เพื่อตอบโจทย์อนาคต” ค้นพบความหมายและความสำคัญของ การพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital Development) จากหลากมุมมองของผู้มีส่วนในการวางรากฐานการสร้างเยาวชนของชาติให้เติบโตขึ้นเป็นทุนมนุษย์ที่ทรงคุณค่าในอนาคต 

Brain-Based Learning