OKMD กระตุกต่อมคิด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ - Opportunity for All
กระตุกต่อมคิด เพื่อพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา

อารมณ์กับศักยภาพในการเรียนรู้

9207

อารมณ์มีผลกระทบต่อการเรียนรู้อย่างไร

งานวิจัยค้นพบว่าทัศนคติและอารมณ์ของคนมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ ทั้งความเครียด ความกลัว ความวิตกกังวล ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับเด็กหรือผู้ใหญ่วัยใดก็ตาม จะสกัดกั้นวงจรการทำงานของสมอง





อาจพูดได้ว่าทั้งสุขภาพกายและใจของคนเรามีผลต่อประสิทธิภาพการคิดและการเรียนรู้ บ้านหรือโรงเรียนที่มีบรรยากาศตึงเครียดล้วนส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กทั้งสิ้น ดังนั้นการเลี้ยงดูของพ่อแม่และบรรยากาศในบ้านที่เด็กเติบโตต้องเป็นไปในลักษณะที่ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นคง มีความสุข ส่วนโรงเรียนก็ต้องจัดบรรยากาศที่ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกปลอดภัย และสนุกสนานมากกว่ามีแต่ความกดดัน ความเครียด


หากมีแรงกดดันมาก มีความเครียดสูง ถูกดุด่าประจำ มีความซึมเศร้าเหงาหงอยล้วนมีผลต่อสารเคมีที่จะทำให้เราเรียนรู้ได้ไม่ดี ความสามารถเรียนรู้ในสมองลดลง แต่หากเรามีความสุขมีความปลอดภัยมั่นคง อารมณ์เราดีจะทำให้สารเคมีที่ดีหลั่งมากขึ้น ส่งผลให้เราเกิดการเรียนรู้ได้เร็ว และจดจำได้ดี การเปิดโอกาสให้เด็กได้บอกเล่าความรู้สึกของตัวเองจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะในการฟังผู้อื่นและยอมรับคำวิจารณ์ของคนอื่นได้ไม่เกิดความรู้สึดกดดันเมื่อถูกวิจารณ์ การจัดหาวิธีให้เด็กได้ระบายความรู้สึกนึกคิดอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้เด็กสามารถรับมือกับความโกรธความกลัว ความวิตกกังวล ความเจ็บปวดในใจ และความเครียดในชีวิตประจำวันได้ดี


เราไม่ต้องเพียงแต่คำนึงถึงพัฒนาการต่างๆของสมองที่กล่าวมา เรายังต้องคำนึงถึงพัฒนาการทางด้านอารมณ์ควบคู่กันไปด้วย นักเรียนที่เข้ามาในห้องเรียนด้วยอารมณ์เครียดย่อมมีความสามารถในการเรียนรู้ ที่แตกต่างจากนักเรียนที่เข้ามาด้วยอารมณ์ดี หรืออารมณ์ปกติ


การที่เราเข้าใจพื้นฐานของสมองจะช่วยให้เราคิดถึงประเด็นที่สำคัญๆ พ่อแม่ทุกคนจำเป็นที่จะต้องรู้ถึงความจริงเกี่ยวกับพัฒนาการและหน้าที่ของสมอง ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจถึงการเรียนรู้และความจำได้ดียิ่งขึ้น และรู้วิธีสอน มีความสุขกับการเรียนการสอน


ที่มา ​: พันโทแพทย์หญิงกมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี, ชุดความรู้การเลี้ยงดูเด็ก วัย 3-6, 7-9, 10-12 ตามหลักการพัฒนาสมองสำหรับพ่อแม่และผู้ปกครอง, สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้(องค์การมหาชน), กรุงเทพฯ, 2554.

บทความอื่นๆ

เล่นตามรอยพระยุคลบาท

เล่นตามรอยพระยุคลบาท

หนังสือ "เล่นตามรอยพระยุคลบาท" ได้ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่เริ่มจากการทรงเล่นและนำไปสู่พระอัจฉริยภาพรอบด้าน
รู้ทัน อัลไซเมอร์

รู้ทัน อัลไซเมอร์

25 สัญญาณเตือนภาวะสมองเสื่อมที่ไม่ควรละเลย  อาจจะมีบางครั้งที่เราหลงลืมชื่อคนบางคน หรือพลั้งเผลอที่จะกระทำบางเรื่องที่ควรทำ แต่นั่นไม่ได้บ่งชี้ว่าเรากำลังจะเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อม ความจำถดถอย หรือ เป็นโรคที่เรียกกันติดปากว่า อัลไซเมอร์ เสมอไป
พ่อแม่รุ่นใหม่ เข้าใจสมองวัยรุ่น

พ่อแม่รุ่นใหม่ เข้าใจสมองวัยรุ่น

พ่อแม่กับลูกวัยรุ่นเหมือนลิ้นกับฟันที่กระทบกระทั่งกันอยู่เป็นประจำ การทำความเข้าใจว่ามีอะไรเกิดขึ้นในสมองของวัยรุ่น จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถสื่อสารกับลูกที่อยู่ในวัยเปลี่ยนผ่านได้อย่างเหมาะสม
4 ทักษะสำหรับเด็กในศตวรรษที่ 21

4 ทักษะสำหรับเด็กในศตวรรษที่ 21

ในขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว พ่อแม่ควรเตรียมเด็กให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต  ท่ามกลางการแข่งขันที่ขับเคี่ยวกันอย่างเข้มข้น เด็กๆ ยังต้องเรียนรู้ที่จะสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

Brain-Based Learning